บทบาทของขงจื้อในการปกครอง DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 238
หน้าที่ 238 / 481

สรุปเนื้อหา

ขงจื้อเห็นถึงความไม่ยุติธรรมในราชการและพยายามแก้ไขด้วยคุณธรรม เขาสอนหลักการรัฐบาลที่ดี โดยเน้นความสำคัญของประชาชนและคุณธรรมในการปกครอง มีศิษย์เพิ่มขึ้นจากหลายแวดวง และตั้งโรงเรียนสอนจริยธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ความเหลวแหลกในราชการ
-หลักการปกครองของขงจื้อ
-การศึกษาและการสอนจริยธรรม
-บทบาทของประชาชนในรัฐ
-ศิษย์และอิทธิพลของขงจื้อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ส่วนที่สำคัญ ชีวิตราชการทำให้ขงจื้อได้เห็นความเหลวแหลก ความไม่ยุติธรรมของข้าราชการ ข้อนี้เป็นแรงดันให้ขงจื้อคิดแก้ไขความเหลวแหลกทั้งหลายในแผ่นดิน ในขณะที่ขงจื้อมีความตั้งใจจะแก้ไขความประพฤติของข้าราชการ และใคร่จะสั่งสอน คนให้เป็นพลเมืองดีเพื่อช่วยเหลือบ้านเมือง พอดีเกิดความผันผวนขึ้นในบ้านเมือง เจ้าผู้ครอง นครลู่ต้องหลบภัยการเมืองออกจากแคว้นนั้นไป ขงจื้อหลบภัยตามไปด้วย มีข้าราชการผู้ ซื่อสัตย์หมู่หนึ่งขอเป็นศิษย์ติดตาม เพราะเลื่อมใสอยากจะทำราชการอยู่ใกล้กับขงจื้อ ชีวิตในตอนหลังระหกระเหินมากขงจื้อเข้ารับราชการอยู่กับผู้ครองแคว้นอีกแห่งหนึ่ง คือ แคว้นจีมีความสนใจในเรื่องการบ้านการเมือง ต้องการจะให้รัฐบาลปกครองคนด้วยความ ผาสุก ขงจื้อ วางหลักการปกครองไว้เช่นที่ว่า “วิธีจะมีรัฐบาลที่ดี ผู้ปกครองควรต้องเป็นผู้ ปกครองจริงๆ เสนาบดีต้องทำหน้าที่เสนาบดี พ่อต้องทำหน้าที่ของพ่อ ลูกต้องทำหน้าที่ของลูก” “ประชากรเป็นส่วนสำคัญที่สุดของรัฐ สวรรค์ย่อมเห็นตรงกับมหาชนเสมอ สวรรค์ฟังเหมือน กับมหาชนฟัง ฉะนั้นผู้ปกครองรัฐหรือประเทศจะต้องเอาชนะใจประชาชนเสียก่อนแล้วจึงจะได้ อาณาจักร หากไม่เอาชนะใจของประชาชนแล้วอาณาจักรก็จะหลุดลอยไปเท่านั้น” “ประโยชน์ ยิ่งใหญ่ที่สุดรัฐบาลใดๆ ควรจะได้ ไม่ใช่มาจากการเก็บภาษีอากรอันเป็นที่เดือดร้อนของ ประชาชน แต่ประโยชน์ต้องมาจากคนทั้งหลายที่มีความประพฤติดีมีความเชื่อว่ารัฐบาล ปกครองด้วยดี” หลักการปกครองหรือหลักรัฐศาสตร์ของขงจื้อนี้ ในตอนแรกก็ไม่ค่อยได้รับ ความเอาใจใส่มากนัก แต่ขงจื้อมีความพยายามสอนคนอยู่เสมอ ไม่เคยทอดทิ้งหน้าที่ครูสอน เรื่อยไป จนมีศิษย์ในเวลานั้นประมาณ 3,000 คนและศิษย์ส่วนมากมาจากตระกูลยากจน ไม่ใช่ เฉพาะสอนหลักรัฐศาสตร์เท่านั้น ที่เน้นมากก็คือ ศีลธรรม ต้องการที่จะจรรโลงประเทศให้มี ความเจริญด้วยศีลธรรม เป็นการแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ได้วางหลักสายสัมพันธ์ 5 ประการให้ คนรู้จักหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกัน จนถึงกับได้ตั้งโรงเรียนสอนจริยธรรมขึ้น ขงจื้อจึงกลายเป็น อาจารย์คนแรกที่ได้สั่งสอนวิชาศีลธรรมวัฒนธรรมและปรัชญาอย่างจริงจังในสมัยนั้น ศิษย์ ของขงจื้อก็ทวีมากขึ้นโดยลำดับ หลักปรัชญาที่ขงจื้อสอนเช่นที่ว่า “ถ้าท่านยังไม่รู้ความเกิด จะ ไปรู้ความตายได้อย่างไร “ถ้าท่านไม่อยากให้คนอื่นทำอันตรายแก่ท่าน ท่านก็อย่าไปทำ อันตรายแก่คนอื่น” ยิ่งวันผ่านไปความพยายามของขงจื้อก็ไม่เคยย่อหย่อน และศิษย์ก็เพิ่มมาก ขึ้นเรื่อย ๆ จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปไกล ในที่สุดบ้านเมืองเห็นความดีจึงแต่งตั้งขงจื้อให้เป็นผู้ มีหน้าที่ตรวจราชการฝ่ายยุติธรรมตามหัวเมืองต่าง ๆ ปรากฏว่าขงจื้อยิ่งมีโอกาสได้ศึกษาความ เป็นไปในชีวิตของคนและการบ้านเมืองในที่ต่าง ๆ เมื่อไปตรวจราชการ เป็นเสมือน มหาวิทยาลัยเคลื่อนที่ แห่งใดมีการปกครองดีขงจื้อก็ส่งเสริม แห่งใดมีการปกครองไม่ยุติธรรม ศ า ส น า ข ง จื้อ DOU 223
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More