ข้อความต้นฉบับในหน้า
แต่นิยมไหว้ด้วยใบซากากิ (Sakaki)
การทำพิธีเซ่นไหว้มีทั้งทำส่วนตัวและทำเป็นพิธีของชุมชน ซึ่งต้องเซ่นไหว้อย่างสม่ำเสมอ
โดยนักบวช ผู้ทำพิธีกรรมนั้นจะต้องอยู่ในอาการสำรวมและสงบเงียบ
นักบวชของชินโตมีทั้งชายและหญิง
นักบวชหญิงจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ นักบวชชาย
บางนิกายอนุญาตให้มีครอบครัวได้ ส่วนผู้ทำหน้าที่บริการรับใช้ในวัดจะเป็นผู้ชาย และมีหัวหน้า
นักบวชทำหน้าที่ดูแลศาลเจ้ารวมทั้งเป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆ
นอกจากนี้มีหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชหญิง ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหญิงผู้ดูแล
สุริยะเทวีที่อิเซ (Ise) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ทำหน้าที่นี้จะเป็นหญิงสูงศักดิ์ที่มาจากตระกูลสูง ซึ่ง
ตรงข้ามกับพวกร่ายรำทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นสามัญชนมีหน้าที่ร่ายรำและเล่นดนตรีถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ในศาลเจ้า โดยกระทำในอาคารที่แยกต่างหาก
พวกนักบวชชายในปัจจุบันนี้จะใส่เสื้อคลุมที่มีแขนใหญ่สีขาว ใส่หมวกทรงสูง ซึ่งเราจะเห็น
ได้ในวันที่มีงานสำคัญทางศาสนา ส่วนพวกทำหน้าที่ร่ายรำจะใส่เสื้อขาว ผ้านุ่งสีแดง
สำหรับการทำความเคารพกามินั้น ชาวญี่ปุ่นที่นับถือชินโตใช้วิธีตบมือ ตบมือครั้งที่ 1 เพื่อ
เรียกให้เสด็จมาช่วย ตบมือครั้งที่สองเพื่อเป็นการบอกลา
อนึ่ง มีข้อน่าสังเกตสำหรับความเป็นชิ้นโต อย่างหนึ่ง คือความเชื่อในเครื่องรางของขลัง
วิญญาณและไสยศาสตร์ เป็นเหตุให้เกิดการสร้างรูปสัญลักษณ์ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งที่ยึดถือตาม
บ้านของคนนับถือชินโตจะมีที่บูชาวิญญาณ และปากทางเข้าหมู่บ้านนิยมสลักตุ๊กตาหินกาม
เพื่อพิทักษ์รักษาหมู่บ้าน ปัจจุบันเราจะพบเห็นได้ตามชนบทของญี่ปุ่น
9.7 พิธีกรรมที่สำคัญ
9.7.1 พิธีบูชาในศาสนา ในศาสนาชินโตมีการบูชาคือการไหว้เจ้า การไหว้เจ้าของ
ญี่ปุ่นไม่ต้องเสียหมูเห็ดเป็ดไก่เหล้ายา แล้วคนเอามากินกันเหมือนของจีน ชาวญี่ปุ่นจะออกไป
ไหว้เจ้า เพียงแต่เตรียมการโดยแต่งตัวให้สะอาด แล้วเข้าไปโค้งคำนับตรงหน้าศาลเจ้าซึ่งมี
มากมายหลายแห่งเหลือเกิน มีอยู่เกือบ 200,000 แห่ง จะมี “โทรี” (ประตูวิญญาณ) เป็น
เครื่องหมายแผ่นดินแห่งศาลเจ้าก็คือประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง เมื่อคำนับแล้ว ก็จะหลับตาตบมือเรียก
ดวงวิญญาณ มารับการไหว้ ถ้าไม่ตบมือก็จะยืนนิ่ง ๆ เป็นสมาธิเฉย ๆ สักครู่หนึ่งก่อนกลับออก
ไป แต่หรืออาจมีอย่างอื่น ๆ อีกบ้าง ตามที่นักบวชหรือผู้เฝ้าศาลเจ้าจะแนะนำให้ทำ ส่วนเครื่อง
252 DOU ศาสนศึกษา