นิกายเถรวาทและมหายานในพระพุทธศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 179
หน้าที่ 179 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างนิกายเถรวาทและมหายานในพระพุทธศาสนา โดยวิเคราะห์ที่มาของชื่อและการปฏิบัติในแต่ละนิกาย รวมถึงการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกครั้งแรกที่ลังกาในปี พ.ศ. 2493 ที่มีการปรับเปลี่ยนชื่อเรียกนิกายเพื่อการเข้าใจที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงประเด็นสำคัญที่ทำให้นิกายเถรวาทและมหายานมีแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างกัน และความสำคัญของการเผยแผ่แนวคิดพุทธศาสนาในแต่ละนิกาย

หัวข้อประเด็น

-นิกายเถรวาท
-นิกายมหายาน
-การประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์
-ความแตกต่างระหว่างนิกาย
-พัฒนาการทางศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสงฆ์คณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพวก “สถวีระ” หรือในกาลต่อมาถูกพวกนิกายมหายาน เรียกว่า “หินยาน” ซึ่งแปลว่า ยานเลว ยานเล็ก ยานคับแคบ ไม่สามารถขนสัตว์โลกไปสู่ความ พ้นทุกข์ได้มาก เพราะมีวัตรปฏิบัติอันเข้มงวดกวดขัน ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุจุดหมายปลายทาง ได้ยาก แต่ในการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกครั้งแรกที่ลังกา เมื่อ พ.ศ. 2493 ที่ ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกใช้คำว่า “หินยาน” และให้ใช้คำว่า เถรวาท แทนเพราะ เห็นว่าคำว่า “หินยาน” เกิดขึ้นเพราะการแก่งแย่งแข่งขันกันในอดีต นิกายเถรวาทนี้ตั้งมั่นอยู่ ในประเทศลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา 5.7.2 นิกายอาจริยวาท ได้แก่ นิกายที่พระภิกษุชาววัชชีถือตามที่อาจารย์ของตนได้ แก้ไขขึ้นในภายหลังพระสงฆ์คณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหาสังฆิกะ” และในเวลาต่อมาเรียก ตัวเองว่า “มหายาน” ซึ่งแปลว่ายานใหญ่โตสามารถบรรทุกสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์ได้มาก เพราะการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้อำนวยความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จะช่วยสามารถนำสัตว์ไปสู่ความ พ้นทุกข์ได้จำนวนมาก นิกายมหายานนี้แพร่หลายในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย เกาหลี เวียดนาม สิกขิม และภูฏาน ทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานโดยหลักการใหญ่ก็ลงรอยกัน แม้ว่านิกาย มหายานจะมีลัทธินิกายแยกย่อยออกไปอีกมาก มีพระสูตรและพระคัมภีร์ศาสนาเพิ่มขึ้นระยะ หลังอีกเป็นอันมากก็ตาม ต่อไปนี้เป็นข้อแตกต่างกันในบางประเด็น เถรวาท 1. ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ 2. ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ 164 DOU ศาสนศึกษา มหายาน (อาจริยวาท) 1. ถือเรื่องบารมีเป็นสำคัญ 2. ถือปริมาณเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงค่อยปรับปรุง คุณภาพในภายหลัง ดังนั้นจึงต้องลดหย่อน การปฏิบัติพระวินัยบางข้อลงเข้าหาบุคคล และ เพิ่มเทวดา และเพิ่มพิธีกรรมสังคีตกรรมเพื่อ จูงใจคน ได้อธิบายพุทธมติ อย่างกว้างขวาง เกินประมาณเพื่อการเผยแผ่จนทำให้พระพุทธ พจน์ ซึ่งเป็นสัจนิยมกลาย เป็นปรัชญาและ ตรรกวิทยาไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More