การทำอะกีเกาะฮฺและกุรบั่นในอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 442
หน้าที่ 442 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายการทำอะกีเกาะฮฺสำหรับเด็กชายและหญิงว่าให้เชือดสัตว์กี่ตัวและวิธีการแบ่งเนื้อสัตว์ที่เชือด มีการกล่าวถึงพิธีการทำกุรบั่นในวันอีดิลอัฎฮา สัตว์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีอายุและลักษณะที่เหมาะสม และสรุปให้เห็นถึงความสำคัญของการทำกุรบั่นในศาสนาอิสลาม รวมทั้งบทบาทของการแบ่งเนื้อให้กับคนยากจนและมิตรสหาย เพื่อสะท้อนถึงความภักดีต่ออัลลอฮ์ เนื้อที่ได้จะต้องแบ่งออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน และให้เนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดมีคุณภาพดีที่สุดสำหรับการทำบุญในศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การทำอะกีเกาะฮฺ
-การทำกุรบั่น
-พิธีกรรมในวันอีดิลอัฎฮา
-การเลือกสัตว์ในการเชือด
-การแบ่งเนื้อสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัตว์ที่ใช้ในการทำอะกีเกาะฮฺนั้นสำหรับเด็กผู้ชายให้เชือดแพะ 2 ตัว แพะนั้นควรมีรูปร่าง ลักษณะที่คล้ายคลึงกันทั้ง 2 ตัวและมีอายุรุ่นเดียวกันด้วย ถ้าเป็นเด็กหญิงให้เชือดแพะ 1 ตัว เนื้อสัตว์ที่เชือดนี้เพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอฮ์ที่ประทานทารกมาให้และเพื่อขอพรให้พระองค์ ได้คุ้มครองรักษาทารกนี้ เนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ไว้รับประทานเอง 1 ส่วน ให้ ญาติพี่น้อง 1 ส่วน และบริจาคให้คนยากจน 1 ส่วน 13.9.12 พิธีการเชือดกุรบั่น คือการเชือดสัตว์เป็นพลีเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้และมิตร สหาย เพื่อนำมาฉลองในวันอีดิลอัฎฮาหรือวันอีดใหญ่ โดยเชือดในตอนสายหลังจากเสร็จการ ละหมาด สัตว์ที่ใช้ทำกุรบั่น ได้แก่ อูฐ วัว แพะ แกะ เพื่อแสดงความภักดีต่ออัลลอฮ์ กะมารุล ชุก” ได้กล่าวว่าสัตว์ที่ทำกุรบั่นต้องมีอายุครบตามเกณฑ์จึงจะถือว่าแข็งแรง กล่าวคือ อูฐจะ ต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป วัวและควายมีอายุ 2 ปีขึ้นไป แพะธรรมดาอายุ 2 ปีขึ้นไป แกะอายุครบ 1 ปี หรือแกะที่ฟันของมันหลุดร่วงไปหลังจาก 6 เดือน ถึงแม้มีอายุครบ 1 ปี ที่ใช้ได้ บรรดา สัตว์ที่ทำกุรบั่นนั้นที่ดีที่สุด คือ อูฐ รองลงมาคือ วัว จากนั้นคือแกะและแพะ จำนวนสัตว์ในการทำกุรบั่นที่น้อยที่สุด คือ แพะ 1 ตัว หรือ แกะ 1 ตัว สำหรับ 1 คน แต่ ถ้าอูฐ 1 ตัว วัวหรือควาย 1 ตัว สำหรับ 7 คน และสัตว์ที่จะใช้ทำกุรบั่นนั้นต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่พิการตาบอด ไม่ตาเจ็บจนปิดตา ยกเว้นตามัวหรือมองไม่เห็นเฉพาะกลางคืน ขาจะต้องไม่ เป๋หรือเก หูไม่แหว่งหรือฉีกขาด หางไม่กุด ยกเว้นเป็นมาแต่กำเนิด ไม่เป็นโรคผิวหนัง และจะ ต้องไม่ตั้งท้องหรือเพิ่งคลอดลูก สำหรับสีของสัตว์ที่ใช้ทำกุรบั่นนั้นที่นิยมและที่ยกย่องกันว่าดีที่สุดคือสีขาวสีค่อนข้างเหลือง สีเทาแกมแดงสลับสีขาวปนดำและสีดำ กุศลที่เกิดจากการทำกุรบั่นตามทัศนะของอิสลาม คือ บุญที่จะทำให้สะดวกง่ายดายต่อ การข้ามสะพานในวัรกิยามะฮฺ (หมายถึงวันที่ฟื้นจากความตายไปสู่ปรโลก) ยิ่งสัตว์ดีมากและ ประเสริฐมากเท่าใดยิ่งทำให้เห็นถึงความภักดีต่ออัลลอฮ์มากเท่านั้น แต่ทั้งหมดนี้จะต้อง กระทำให้ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาจะเชือดก่อนละหมาดในวันอีดิลอัฎฮาไม่ได้ มิฉะนั้นจะ เป็นการเชือดเพื่อตนเอง ดังนั้นเนื้อที่ได้จากการทำกุรบั่นจึงไม่บริโภคแต่ผู้เดียว แต่แจกจ่าย เป็นทานแก่คนยากจนรวมทั้งมิตรสหายและเก็บไว้เพื่อตนเองเพียงนิดเดียวเท่านั้นเพื่อเป็น สิริมงคลในการทำกุรบั่น เล่มเดียวกัน, หน้า 41-42. ศ า ส น า อ ส ล า ม DOU 427
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More