ข้อความต้นฉบับในหน้า
โพกไว้ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ส่วนสีนั้นไม่มีการจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความนิยม แต่ชาวซิกข์ใน
เมืองไทยส่วนมากนิยมสีขาว และสีฟ้าสดที่เรียกว่า ฟ้าอมน้ำเงิน
ในหมู่ชาวซิกข์การโพกผ้ามิได้มีความหมายเพียงแค่ประเพณีในการแต่งกายเท่านั้น
แต่เป็นเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสืบเนื่องทางศาสนา เช่น ถ้าผู้นำของครอบครัวเสียชีวิต
บุตรคนโตจะได้รับการโพกศรีษะต่อหน้าชุมชนนั้นๆ เพื่อประกาศว่าเขาจะได้เป็นผู้สืบทอด
แทนบิดาต่อไป
พิธีโพกศรีษะเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อเด็กโตเป็นหนุ่ม และผ้าโพกศรีษะนี้จะถูกถอดออก
ต่อเมื่อเป็นการลงโทษหรือเป็นการลบหลู่เกียรติ ฉะนั้นเมื่อมีผู้ปิดผ้าโพกศรีษะผู้อื่นออก ผู้นั้น
จะถูกลงโทษไม่ให้เข้าร่วมในพิธีต่าง ๆ จนกว่าจะขอขมาโทษ และรับโทษตามที่ได้บัญญัติไว้
ชาวซิกข์จะต่อสู้เพื่อสิทธิในการโพกศรีษะในประเทศต่าง ๆ การต่อสู้ครั้งแรกเกิดขึ้นในอังกฤษ
ดังนั้นการโพกศรีษะจึงหมายถึงวิถีชีวิตและจิตใจของชาวซิกข์ ที่มีต่อศาสนาอย่างมั่นคง
6.7.5 ประเพณีครัวทาน (Free Kitchen)
ประเพณีนี้เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติทางศาสนาที่ชาวซิกข์เรียกว่า “ปันกัน”
(Pangat) หรือ “ลังการ์” (Langar) ซึ่งหมายถึง ครัวทานหรือครัวสาธารณะที่เปิดให้คนทั่วไป
ได้รับประทานอาหารร่วมกันไม่ว่าจะมีวรรณะใด เพศใด หรือชาติใดก็ตาม ทุกคนย่อมได้รับ
การปฏิบัติที่เหมือนและเท่าเทียมกัน ประเพณีทางศาสนานี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยของคุรุนานักที่
เป็นปฐมศาสนา และทำสืบต่อกันมาในสมัยของคุรุศาสดาอังฆฏเทพ คุรุศาสดาอมรทาส จน
กระทั่งถึงปัจจุบันนี้
การรับประทานอาหารในโรงครัวสาธารณะนี้ถือว่าเป็นการสร้างภราดรภาพร่วมกัน
อันเป็นหลักสำคัญในศาสนา บุคคลที่เข้ามาในโรงครัวนี้จะต้องนั่งบนพื้นที่จัดไว้เรียงเป็นแถว
ในระดับเสมอกัน ไม่มีข้า ไม่มีนาย ไม่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ผู้ศรัทธาในศาสนา
ซิกข์จะช่วยกันทำอาหารและบริการรับใช้ผู้มารับประทานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โรงครัวนี้
ชาวซิกข์จะช่วยกันนำอาหารมาให้หรืออาจให้เป็นเงินทอง เพื่อจัดซื้ออาหารต่าง ๆ ให้มีอยู่เสมอ
มิได้ขาด
190 DOU ศาสนศึกษา