ข้อความต้นฉบับในหน้า
สำคัญของนิกายนี้แทบไม่แตกต่างจากนิกายโรมันคาทอลิก ลักษณะที่แตกต่างไปจากนิกาย
โรมันคาทอลิกมีดังนี้
1. ไม่ยอมรับอำนาจของสมเด็จพระสันตะปาปาที่นครรัฐวาติกัน แต่ละประเทศ
มีประมุขทางศาสนาของตน
2. รูปแบบพิธีกรรม ภาษา การปกครอง และระเบียบที่เกี่ยวกับนักบวช
เปลี่ยนแปลงไป เช่น นักบวชมีสิทธิ์แต่งงานได้
ปัจจุบัน ผู้นับถือนิกายออร์ธอดอกซ์มีอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ
บัลแกเรีย โรมาเนีย แอลเบเนีย สหภาพโซเวียต และแอฟริการเหนือในประเทศเอธิโอเปีย
12.4.3
นิกายโปรเตสแตนด์
นิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2063 โดยนักบวชหนุ่มชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน
ลูเธอร์ ผู้ทนดูความเสื่อมโทรมของศาสนาที่กรุงโรมไม่ได้โดยเฉพาะการที่พระสังฆราชโลกเห็น
แก่เงิน จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงพิธีล้างบาปด้วยการเอาเงินไปให้แก่วัดแทนการสารภาพ จึง
คัดค้านแล้วตั้งนิกายขึ้นใหม่เพราะกล้าคัดค้านข้อปฏิบัติของสันตะปาปาที่กรุงโรมนิกายนี้จึงชื่อว่า
“โปรแตสแตนต์” แปลว่า “นิกายคัดค้าน”
นิกายนี้ถือปฏิบัติตามคัมภีร์ไบเบิล ไม่ยอมรับบัญญัติหรือคำสั่งใด ๆ ของสันตะปาปา
จากกรุงโรมทั้งสิ้น ไม่มีนักบวชถือพรหมจรรย์ ไม่ยึดถือไม้กางเขนว่าสำคัญ พระบัญญัติ 10
ประการ ตัดข้อ 4 ออก แล้วเพิ่มใหม่เป็นข้อ 10 ว่า “เจ้าอย่าละโมบในภริยา ทาส ปศุสัตว์
หรือสิ่งใดอันเป็นของเพื่อนบ้าน”
นอกจากนิกายใหญ่ 3 นิกายนั้นแล้ว ยังมีนิกายอื่นๆ ที่คริสต์ศาสนิกชนนับถือกัน
อยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ ดังมีรายละเอียดที่จะนำมาแสดงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. นิกายเอปิสโคปัล เป็นนิกายของอังกฤษ หรือที่เรียกว่า Church of England
ผ่านมาจากกรุงโรมในศตวรรษที่ 17 ของคริสต์ศักราช ในระหว่างราชวงศ์สจ๊วต ครองเกาะอังกฤษ
เมื่อโรมันคาทอลิกเข้ามานั้น ราชวงศ์อังกฤษไม่พอใจในความหรูหราของพระ จึงประกาศฟื้นฟู
ศาสนาที่เรียกว่า Restoration ot the Stuarts ใน พ.ศ. 2203 ในศาสนาของอังกฤษ เป็นอิสระ
ไม่ขึ้นต่อสังฆราชกรุงโรม แต่ให้ขึ้นตรงต่ออาณาจักรอังกฤษ สังฆราชใหญ่ก็ไม่เรียกสันตะปาปา
แต่ให้เรียกว่า “อาร์ชบิชอป” การฟื้นฟูคราวนี้ทำกันรุนแรงถึงชีวิต อังกฤษไม่ยอมให้ศาสนจักร
ศ า ส น า คริสต์ DOU 337