ข้อความต้นฉบับในหน้า
ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาอาหรับเดียวกันกับคำว่า “มุสลิม” คือมาจาก “ซะลิมะ” หรือ “ซะ
ละมุน” แปลว่า “สันติ การนอบน้อม การยอมจำนนอย่างสิ้นเชิง” ดังนั้น “อิสลาม” จึงมี
ความหมายว่า “การน้อมนอบตนต่ออัลลอฮฺ แต่พระองค์เดียวอย่างสิ้นเชิงเพื่อความสันติ”
ส่วน “มุสลิม” หมายถึง “ผู้ที่นอบน้อมมอบตนต่ออัลลอฮฺ แต่พระเจ้าองค์เดียวอย่างสิ้นเชิง”
พวกอิสลามเชื่อว่าผู้ใดที่มีความเชื่อมั่นในอัลลอฮ์ พวกเขาจะได้รับสวรรค์เป็น
รางวัลอันเป็นสถานที่บรมสุขที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่ผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางของพระองค์เท่านั้น
แม้นว่าพระองค์จะมีน้ำพระทัยดีมีเมตตา แต่พระองค์ก็มีความยุติธรรม คนชั่วย่อมได้รับการ
ตัดสินอย่างยุติธรรม และคนดีย่อมได้ความเที่ยงธรรม
เนื่องจากพระองค์เป็นผู้สร้างมลาอิกะฮฺ พระองค์ได้ทรงกำหนดหน้าที่ให้มลาอิกะฮฺ
ปฏิบัติตามเพื่อช่วยเหลือพระองค์ในหน้าที่ต่าง ๆ เช่น “เทพยิบริล หรือ กาเบรียล” (Gabriel)
เป็นผู้นำโองการจากอัลลอฮ์มาถ่ายทอดให้กับนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) “รกิบ-อติ๊ด” เป็นผู้บันทึก
ความดีความชั่วของมนุษย์ “อีสรออีล” เป็นผู้ถอดวิญญาณมนุษย์ออกจากร่าง “มุงกร และ นะ
กีร” เป็นผู้สอบสวนผู้ตายที่หลุมฝังศพ “อิสราฟิล” ทำหน้าที่เป่าแตรสัญญาณในวันพิพากษาโลก
ความเชื่อในมลาอิกะฮฺนี้มีส่วนสนับสนุนเป็นอย่างมากให้บุคคลกระทำความดีเกลียด
กลัวความชั่ว เพราะมลาอิกะฮฺจะบันทึกพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งมวลแม้ในที่ลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดเห็น
การทำดีละเว้นชั่วนี้แสดงให้เห็นถึงเสรีภาพของมนุษย์ที่เลือกกระทำ แต่ชะตากรรมของมนุษย์
ขึ้นอยู่กับอัลลอฮฺที่จะทรงเลือกหนทางชีวิตให้แก่พวกเขา เพราะพระองค์เป็นพระผู้สร้างและ
พระผู้ปกครองพื้นพิภพและจักรวาล มนุษย์จึงต้องเกรงกลัวพระองค์ให้มากและจะต้องพยายาม
รู้จักพระองค์ นี้คือ หน้าที่สำคัญของมนุษย์ที่จะต้องดำเนินตลอดชีวิต มิฉะนั้นเมื่อถึงวันสิ้นโลก
นี้ (วันกิยามะฮฺ) อัลลอฮ์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิพากษาโลก บุคคลที่ทำดีเท่านั้นจึงมี
สิทธิ์ได้เข้าแดนสวรรค์ และผู้ทำชั่วจะต้องถูกลงโทษลงนรกซึ่งเป็นสถานที่ไฟนรกอันร้อนแรง มี
ควันดำและน้ำกร่อย
13.7 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด
มุสลิมเชื่อว่าพระอัลลอฮ์ทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง ทรงเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของคน
และสัตว์ ในการสร้างโลกและสรรพสิ่ง พระองค์เพียงตรัสว่า จงเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ทุกอย่างก็
บังเกิดอย่างนั้นทันที ดังปรากฏในอัลกุรอานว่า “เมื่อพระอัลเลาะห์ทรงกำหนดกิจการใด เพียง
1 มัรวาน สะมะอุ่น, อัลกุรอานฉบับแปลภาษาไทย ภาค 1-2, 2521 บทที่ 40 หน้า 60.
ศ า ส น า อ ส ล า ม DOU 417