ข้อความต้นฉบับในหน้า
พ.ศ. 2204-2264 จักรพรรดิกังสี (Kang Hsi) ทรงสั่งลงโทษหมอเถื่อนพวกศาสนาเต๋า
รวมถึงคนที่มารับรักษาด้วย ทั้งทรงห้ามชุมนุมและเดินขบวนของผู้นับถือศาสนาเต๋า ทรง
พยายามบีบคั้นศาสนาเต๋าทุกนิกาย
พ.ศ. 2443 เกิดพวกขบถมวยขึ้นในนิกายหนึ่งของศาสนาเต๋า พวกนี้เชื่อว่าร่างกายอยู่ยง
คงกระพันต่อลูกปืนของต่างชาติ
ทหารก็ไม่ต้องเกรงกลัวต่อศาสตราวุธใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ก็เพราะเชื่อตามคำสอนของศาสนาเต๋าที่ว่าเมื่อมาเป็น
ศาสนาเต๋าเคยเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน มีคัมภีร์ทางศาสนา มีนักบวชที่เรียกว่าเต้าสื่อ
หรือเต้าขึ้น มีศาสนสถานและพิธีกรรมเป็นของตนเอง และต่อมาราว พ.ศ. 966 จักรพรรดิจีน
ทรงแต่งตั้งสังฆราชและผู้สืบตำแหน่งแทนมีฐานะเป็นเทียนจื้อ หรืออาจารย์สวรรค์ ครั้นราว พ.ศ.
1559 จางเทียนจื้อได้รับพระราชทานอาณาเขตกว้างขวางในเมืองเกียงสี ถ้ำกวางขาว บนภูเขา
มังกร-เสือ ซึ่งเชื่อกันว่า จางเต้าหลังได้พบยาอายุวัฒนะและสิ้นชีพเมื่ออายุ 123 ปี อยู่ในบริเวณนี้
จึงถือกันว่าสถานที่นี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเต๋า
7.2 ประวัติศาสดา
ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นศาสดาแห่งศาสนาเต๋า คือ เล่าจื้อ (Lao-Tze) เพราะเป็นผู้ให้
กำเนิดคัมภีร์เต้าเตกเกง และมีผลงาน คือ การออกเผยแพร่คำสอนแก้ไขปัญหาสังคม ตลอด
ทั้งมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีผู้นับถือ และเอาเป็นตัวอย่างในการดำรงชีวิต
7.2.1 ชาติกำเนิดและปฐมวัย
เล่าจื้อเกิดก่อน ค.ศ. 604 หรือประมาณก่อนพุทธศักราช 61 ปี (มีอายุอ่อนกว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประมาณ 19 ปี) มีชีวิตระหว่าง 604-520 ก่อนคริสตศักราช เล่าจื้อ
เกิดในตระกูลลี (แซ่ลี) บิดามารดาเป็นชาวนาผู้ยากจนในสมัยราชวงศ์จิว (ประมาณ 1122-
255 ก่อน ค.ศ.) ณ หมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ จูเหียน เในเมืองโฮนาน ภาคกลางของผืนแผ่นดินใหญ่จีน
กล่าวกันว่าเกิด ณ บริเวณใต้ต้นหม่อน พอคลอดออกจากท้องแม่ทารกมีผมขาวโพลนออกมา
จึงได้นามว่า เล่าจื้อ หรือ เล่าสือ แปลว่า เด็กแก่ หรือ เฒ่าทารก แต่โดยความหมายแล้วคำว่า
แก่นั้นหมายถึงแก่ความรู้ ไม่ใช้แก่เพราะอยู่นาน หรือไม่ใช่แก่เพราะกินข้าว ไม่ใช่เฒ่าเพราะอยู่
นาน นั่นก็คือว่าเมื่อว่าโดยสภาพร่างกายแล้ว เล่าจื๊อเป็นเด็ก แต่เมื่อว่าโดยระดับสติปัญญา
ศาสนาเต๋า DOU 199