ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.8.4 พิธีบูชาเทวดา ชาวฮินดูมีเทพเจ้าที่เคารพมากมายหลายองค์ ผู้ที่เกิดในวรรณะ
สูงสมัยก่อนได้บูชาพระศิวะและพระวิษณุ เป็นต้น เวลาต่อมาเกิดลัทธิอวตารขึ้น มีการบูชา
พระกฤษณะและพระรามขึ้นอีก แต่บุคคลในวรรณะต่ำมักถูกกีดกันมิให้ร่วมบูชาเทพเจ้าของ
บุคคลในวรรณะสูง ดังนั้น บุคคลในวรรณะต่ำจึงต้องสร้างเทพเจ้าของตนเองขึ้น เช่น เจ้าแม่กาลี
เทพงู เทพเต่า รุกขเทพ เทพช้าง เป็นต้น
เทพลิง
พิธีบูชาแตกต่างกันออกไปตามวรรณะ แต่บุคคลในวรรณะสูงมีพิธีในการบูชาดังนี้
1. สวดมนต์ภาวนา สนานกาย ชำระและสังเวยเทวดาทุกวัน สำหรับผู้เคร่งครัดใน
ศาสนาต้องทำเป็นกิจวัตร ส่วนพวกที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่มักไม่ค่อยปฏิบัติกัน
2. พิธีสมโภช ถือศีล และวันศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลักษมีบูชา วันบูชาเจ้าแม่ลักษมี สรัสว
ดีบูชา วันบูชาเจ้าแม่สรัสวดี ทุรคาบูชา วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา เป็นต้น ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป
ในแต่ละนิกายและท้องถิ่น
ตนนับถือ
3. การไปนมัสการบำเพ็ญกุศลตามเทวาลัยต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพเทพเจ้าที่
3.8.5 วันสำคัญทางศาสนา
เดือน 5
เดือน 5 นี้ จัดว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของศาสนา
พราหมณ์-ฮินดู ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 และในขณะเดียวกัน วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 นี้
จนกระทั่งถึงขึ้น 9 ค่ำ จะตรงกับนวราตรี ผู้ที่เคารพบูชาพระแม่อุมาจะทำการบูชาเจ้าแม่ทั้ง 9
ปาง ในแต่ละคืนเมื่อเสร็จแล้วจึงจะพาไปบูชาไฟและเชิญเด็กหญิงไม่เกิน 10 ขวบทั้ง 9 คน
โดยเริ่มตั้งแต่ 2 ขวบ เรื่อยไปตามลำดับจนครบ 9 ปางมาร่วมพิธี ผู้ชุมนุมในงานจะมอบ
สิ่งของให้แก่เด็กทั้ง 9 คน
เดือน 6
ในเดือนนี้จะมีการบูชาพระวิษณุในวันขึ้น 3 ค่ำ และวันขึ้น 14 ค่ำ ส่วนวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 6 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันศูนย์กลางของสงกรานต์ เป็นวันเพ็ญแรกของปีนับว่ามีความสำคัญ
มาก ประชาชนจึงทำพิธีบูชาไฟและทำบุญตามประเพณีของตระกูล
เดือน 7
วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 เป็นวันบูชาพระวิษณุ มีการอดอาหารและน้ำ 1 วัน
84 DOU ศ า ส น ศึกษา