ข้อความต้นฉบับในหน้า
สิ้นสูญ การให้ทานหรือการบูชายัญจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด” ลัทธินี้ถือว่า สุข ทุกข์ เป็น
เรื่องของความบังเอิญ ไม่เกี่ยวกับกรรมดี กรรมชั่ว ไม่มีนรก สวรรค์ ไม่มีการหลุดพ้นและไม่มี
การเกิดใหม่
5. นิครนถนาฏบุตร สอนให้แสวงหาทางหลุดพ้น (จากสภาวะเวียนว่าย ตาย
เกิด) ด้วยการเว้นจากประพฤติเบียดเบียนชีวิต (ทุกชนิด) พูดเท็จ การถือครองทรัพย์สินทั้ง
หลายทั้งปวง (แม้แต่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม) การลักทรัพย์ ให้ประพฤติพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด
6. สัญชัยเวลัฏฐบุตร สอนว่า “ไม่ควรเชื่อความคิดเห็นของผู้ใดทั้งสิ้น เพราะ
ความคิดเห็นเป็นสิ่งที่อาจผิดพลาดได้” ผู้อยู่ในลัทธินี้มักจะใช้คำปฏิเสธเหตุผลของผู้อื่นว่า “อย่าง
นั้นก็ไม่ใช่ อย่างโน้นก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ใช่อย่างนั้นก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ใช่อย่างโน้นก็ไม่ใช่” สรุปความ
ว่าสอนไม่ให้ยอมรับทรรศนะของผู้ใดว่าผิดหรือถูก
ข้อควรทราบ คำสอนของ บูรณกัสสปะ เรียกว่า “อกิริยทิฐิ”
คำสอนของ มักขลิโคสาล
คำสอนของ ปกุธกัจจายนะ
เรียกว่า “อเหตุกทิฐิ
เรียกว่า “นัตถิกทิฐิ”
คำสอนของ อชิตเกสกัมพล เรียกว่า “นัตถิกอุจเฉททิฐิ”
คำสอนของ สัญชัยเวลัฏฐบุตร เรียกว่า “อมราวิกเขปิกทิฐิ”
5.1.2 สภาพบ้านเมืองก่อนสมัยพุทธกาล
ศาสนาพุทธเกิดขึ้นในโลกนี้ภายหลังศาสนาพราหมณ์ประมาณ 600 ปี ก่อน
ศาสนาคริสต์ 543 ปี ก่อนศาสนาอิสลาม 1,124 ปี และเกิดขึ้นในชนชาติอริยกะ ณ ดินแดน
ชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดีย อินเดียนั้นตั้งอยู่ทางทิศพายัพของประเทศไทย ทิศเหนือมีภูเขา
หิมาลัยกั้นเขต ต่อนั้นออกไปเป็นประเทศทิเบต ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจดมหาสมุทร
อินเดีย ภูมิประเทศตรงกลางมีภูเขาวินธัยตั้งเป็นแนวจากตะวันตกมาตะวันออก
ในสมัยพราหมณ์ตอนปลาย ใกล้จะเข้าสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์
เจริญสุดขีด แผ่นดินอินเดียได้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคเหนือเรียกว่า มัชฌิมชนบท หรือ
มัธยมประเทศ มีแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำสำคัญ ส่วนภาคคาบสมุทรตอนใต้เรียกว่า ทักษิณ
ชนบทหรือทักษิณประเทศ มีแม่น้ำโคธาวรีเป็นแม่น้ำสำคัญ
ในมัชฌิมชนบท มีแคว้นต่างๆ ที่พวกอารยันแบ่งปันกันปกครอง ซึ่งมีอยู่ 16 รัฐ คือ
Tripathi, Rama Shamkar. History of Ancient India, 1967 p. 86-89.
124 DOU
ศาสนศึกษา