พิธีกรรมแห่งการบูชาธรรมชาติในศาสนาขงจื้อ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 249
หน้าที่ 249 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงพิธีกรรมการบูชาธรรมชาติภายในศาสนาขงจื้อ รวมถึงพิธีบูชาดินที่จัดขึ้นในวันที่ 21 หรือ 22 มิถุนายน, พิธีบูชาพระอาทิตย์ในวันที่ 21 มีนาคม และพิธีบูชาพระจันทร์ในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน ณ กรุงปักกิ่ง ผู้ประกอบพิธีเป็นขุนนางที่มีกิจกรรมตามฤดูกาล รวมทั้งการเคารพบูชาเทพเจ้า 'เทียน' และวิญญาณบรรพบุรุษที่มีมานานหลายพันปี โดยมีการสนับสนุนจากศาสนาของขงจื้อเป็นหลัก จำแนกออกเป็นหลายดอกให้เห็นการเคารพศักดิ์สิทธิ์รวมถึงวิญญาณแห่งจักรพรรดิ รวมทั้งการเคลื่อนไหวของ Neo-Confucianism ในสมัยราชวงศ์ซุง โดยแสดงถึงความหมายที่ลึกซึ้งของการเคารพนับถือในวัฒนธรรมจีน.

หัวข้อประเด็น

-พิธีบูชาเทพเจ้า
-พิธีกรรมแห่งศาสนาขงจื้อ
-ความสำคัญของวิญญาณบรรพบุรุษ
-นิกายในศาสนาขงจื้อ
-การเคารพบูชาธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เหล้า เป็นต้น เสร็จแล้วจะเผาเครื่องเซ่นไหว้หมด แท่นบูชาอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง ทำด้วย หินอ่อนสีขาว มีระเบียงลดหลั่นเป็นชั้น 3 ชั้น 2.2 พิธีบูชาดิน เป็นการบูชาธรรมชาติหรือเทพประจำธรรมชาติ ผู้ประกอบพิธี เป็นขุนนาง หรือข้าราชการ กระทำเป็นงานประจำปี ประมาณวันที่ 21 หรือ 22 มิถุนายน ที่ เรียกว่า ครีษมายัน ณ แท่นบูชา อยู่ทางทิศเหนือกรุงปักกิ่ง สถานที่บูชามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีน้ำล้อมรอบ 2.3 พิธีบูชาพระอาทิตย์ กระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาทางประตูด้าน ตะวันออกของกรุงปักกิ่ง ประมาณวันที่ 21 มีนาคม ที่เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต คือวันที่กลางคืน และกลางวันเท่ากัน ในฤดูใบไม้ผลิ 2.4 พิธีบูชาพระจันทร์ กระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาทางด้านตะวันตก ของกรุงปักกิ่ง ประมาณวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน ที่เรียกว่า วันศารทวิษุวัต คือวันที่กลางวัน และกลางคืนเท่ากัน ในฤดูใบไม้ร่วง 3. พิธีเคารพบูชา “เทียน” และวิญญาณของบรรพบุรุษ ชาวจีนได้ค้นพบความมีอยู่ ของเทพเจ้า “เทียน” และได้เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเทพเจ้า “เทียน” นั้นทรงประทับอยู่บนสวรรค์ ฟากฟ้าอย่างแน่นอนเหตุนี้พวกเขาจึงพากันทำพิธีเคารพบูชา “เทียน” ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพทั้ง ปวงผู้คุ้มครองโลก ทรงเป็นวิญญาณแห่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ฝน ไฟ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภูเขา และลำน้ำ ขณะเดียวกันพวกเขาก็ให้การเคารพบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษของตน รวมทั้งบูชา ดวงวิญญาณแห่งผู้บริสุทธิ์และวีรชนด้วย โดยเฉพาะวิญญาณแห่งองค์จักรพรรดิถือว่าเป็นดวง วิญญาณแห่งผู้บริสุทธิ์เรียกธรรมเนียมดังกล่าวนี้โดยรวมแล้วว่าการบูชาวิญญาณแห่งบรรพบุรุษ นับเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ที่ชาวจีนได้ปฏิบัติกันมา พวกเขาจะพากันร้องเพลงเป่าขลุ่ยและ ประกอบพิธีบูชาดวงวิญญาณดังกล่าวตลอดจนวิญญาณแห่งธรรมชาติอื่น ๆ ด้วย ซึ่งศาสนาของ ขงจื้อก็ให้การสนับสนุน จึงดูเหมือนว่า เป็นพิธีกรรมของศาสนาและเป็นการแสดงออกซึ่ง จริยธรรมอันดีงามประการหนึ่ง 8.8 นิกายในศาสนา นักการศาสนาบางกลุ่มกล่าวว่า ศาสนาขงจื้อไม่มีนิกาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาสนาขงจื้อ แม้จะปรากฏว่าไม่มีนิกายโดยตรง แต่มีหนังสือหลายเล่มกล่าวถึงผู้นับถือศาสนาขงจื้อพวกใหม่ หรือที่เรียกว่า Neo - Confucianism ในสมัยราชวงศ์ซุง (ค.ศ. 960-1279 ตรงกับ พ.ศ. 1503- 234 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More