การตั้งหลักของคริสต์ศาสนาในยุโรปและวิวัฒนาการนิกาย DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 348
หน้าที่ 348 / 481

สรุปเนื้อหา

การตั้งหลักของคริสต์ศาสนาเริ่มขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยพระจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชซึ่งประกาศให้มีเสรีภาพในการนับถือคริสต์ศาสนา ภายหลังจากนั้นพระจักรพรรดิเทโอโดซีอุสได้ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อีกทั้งยังมีการนำเข้ามาในประเทศไทยผ่านพวกสอนศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการกำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายสำคัญในศตวรรษที่ 1-5 ซึ่งมีการปรับปรุงคณะกรรมการบริหารศาสนจักรและเกิดความแตกแยกทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในยุคนั้น

หัวข้อประเด็น

-การตั้งหลักของคริสต์ศาสนา
-พระจักรพรรดิคอนสแตนติน
-ศาสนาในประเทศไทย
-วิวัฒนาการนิกาย
-ความแตกแยกในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การตั้งหลักอย่างมั่นคงของคริสต์ศาสนาได้เริ่มขึ้นตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อ พระจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (ค.ศ. 306-337) ได้ทรงครองราชย์สมบัติแล้ว พระองค์ได้ทรงประกาศให้เสรีภาพในการนับถือคริสต์ศาสนาในปี ค.ศ. 313 โดยพระราช กฤษฎีกาแห่งเมืองมิลาน ครั้นเวลาต่อมา พระจักรพรรดิเทโอโดซีอุส ทรงประกาศให้คริสต์ ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของอาณาจักรโรมันในปี ค.ศ. 391 ดังนั้นคริสต์ศาสนาจึงตั้ง หลักมั่นคงแผ่อิทธิพลไปทั่วยุโรป ทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา และคริสต์ศาสนาได้แผ่เข้า มายังประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยพวกสอนศาสนาชาวโปรตุเกส สเปน และฝรั่งเศส ซึ่งได้เข้ามาพร้อมกับพวกพ่อค้า แต่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยไม่ได้แพร่หลายมากเหมือนใน ประเทศอื่นๆ 12.4 กำเนิดและวิวัฒนาการนิกายสำคัญในคริสต์ศาสนา ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 กำเนิดคริสต์ศาสนจักรแรกที่มีคณะกรรมการบริหารประกอบ ด้วยพระสังฆราช คณะพระอาวุโส และผู้ช่วยพระ มีสาวกเป็นฝ่ายทำหน้าที่แสดงพระธรรม เทศนาศูนย์กลางของศาสนาอยู่ที่สำนักวาติกันในกรุงโรม ครั้นเวลาล่วงมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการบริหารศาสนจักรใหม่ พระสังฆราชมีฐานะเป็นหัวหน้าศาสนจักร มีพระอาวุโสและผู้ช่วยพระเป็นผู้ช่วย การแสดง พระธรรมเทศนาเป็นหน้าที่ของพระสังฆราชและพระอาวุโสเท่านั้น ความแตกแยกได้ค่อยๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และที่ 5 ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผล ทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในยุคนั้นพระจักรพรรดิคอนสแตนดินมหาราชได้ทรงย้าย ราชธานีไปอยู่ในภาคตะวันออกของอาณาจักร ทรงตั้งชื่อราชธานีนี้ว่า คอนสแตนติโนเปิล หรือ กรุงโรมตะวันออก อาณาจักรโรมันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เขตคือ โรมันตะวันตก และโรมันตะวันออก โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม โรมันตะวันออกมีศูนย์กลางที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล ทั้ง 2 เขตต่างถือว่ามีความสำคัญมาก จึงมีความเป็นตัวของตัวเอง ในทางความคิด ประเพณี และวัฒนธรรม โรมันตะวันตกใช้ภาษาละติน ส่วนโรมันตะวันออกใช้ ภาษากรีก การแข่งขันกันทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมย่อมมีผลกระทบต่อวงการศาสนาด้วย ครั้นเมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกได้เริ่มสลายตัวลงไปในคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 นั้น อาณาจักรโรมันตะวันออกซึ่งเรียกว่า ไบแซนไทน์ หรือ ไบแซนทีน ก็ได้เข้มแข็งและเป็นอิสระ ในทุกด้าน และเริ่มแยกอำนาจการปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งก่อนนั้นสมเด็จ ศ า ส น า ค ริ ส ต์ DOU 333
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More