ความรู้และความประพฤติชอบในศาสนาเชน DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 123
หน้าที่ 123 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงหลักการสำคัญในศาสนาเชน โดยแบ่งออกเป็นสามส่วนหลัก ได้แก่ สัมยัคทรรศนะ (ความเห็นชอบ) ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของบรรพบุรุษที่มีความเพียรในการพัฒนาตนเองให้หลุดพ้นจากทุกข์; สัมยัคชญาณ (ความรู้ชอบ) ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจโลกและองค์ประกอบต่าง ๆ ในการดำรงอยู่; และ สัมยัคจริต (ความประพฤติชอบ) ซึ่งสอนเกี่ยวกับธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน รวมถึงหลักการ 5 ประการในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณธรรม เช่น การไม่เบียดเบียน การพูดความจริง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพูดถึงการแบ่งโลกและสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-สัมยัคทรรศนะ
-สัมยัคชญาณ
-สัมยัคจริต
-หลักธรรมในศาสนาเชน
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. สัมยัคทรรศนะ : ความเห็นชอบ ความเห็นชอบ ได้แก่ ความเห็นถูกและมีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่าศาสดาจารย์ ทั้งหลายผู้เป็นบรรพบุรุษของเชนนั้นแม้เดิมท่านเป็นปุถุชน แต่อาศัยการที่ท่านมีความเพียร แรงกล้ายิ่งกว่าสามัญบุคคล ท่านจึงได้หลุดพ้นเป็นผู้ชนะ ท่านได้ใช้ชีวิตอันบริสุทธิ์เพื่ออบรม สั่งสอนอำนวยความเจริญแก่มนุษยชาติซึ่งอยู่ในความทุกข์ด้วยหลักธรรม ต่อไปนี้ 2. สัมยัคชญาณ : ความรู้ชอบ ความรู้ชอบ ได้แก่ ความรู้หลักธรรมที่ศาสดาสั่งสอนไว้แต่เดิม โดยมีตัวอย่างดัง ก. เรื่องโลก ให้รู้ว่าโลกอันรวมทั้งนรก สวรรค์ และโลกอื่นทั้งสิ้น มีอยู่ เป็นอยู่เอง ไม่มีผู้ควบคุม และตั้งอยู่เป็นนิรันดร ข. สิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลกให้รู้ว่าสิ่งเหล่นั้นทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะมีสภาวะสำคัญ 6 ประการ รวมตัวกันเข้าไว้ อันได้แก่ อาตมะ ธรรม อธรรม ยุคกาล วัตถุธาตุ อนุปรมาณู อาศัย อนุปรมาณูรวมกันจึงเกิดเป็นธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และร่างกายของมนุษย์ รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลก ค. เรื่องการแบ่งโลก ให้รู้ว่าโลกนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ต่ำ กลาง สูง ทั้ง ยังมีนรกและสวรรค์มากมายหลายชั้น แต่สิ่งทั้งหมดนั้นจัดอยู่ในชินะ 2 หมู่ คือ ชีวะ และอชีวะ 3. สัมยัคจริต : ความประพฤติชอบ ความประพฤติชอบ ได้แก่ ให้รู้หลักธรรม 2 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน เรียกว่า “อนุพรต” มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. อหิงสา การไม่เบียดเบียน ตลอดจนการไม่ทำลายชีวิต 2. สัตยะ การไม่พูดเท็จ 3. อัสเตยะ การไม่ลักขโมย 4. พรหมจริยะ การประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึงไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่อยู่ร่วมกับโสเภณี และไม่ดื่มสุราเมรัย 5. อปริครหะ การไม่ละโมบ ไม่อยากได้สิ่งใด ๆ คือไม่เพิ่มเติมทรัพย์ ในทางทุจริต 108 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More