ปรัชญาโยคะและสางขยะ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 76
หน้าที่ 76 / 481

สรุปเนื้อหา

ปรัชญาโยคะเน้นการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากวัฏสงสาร โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในทางเทวนิยม ส่วนสางขยะมุ่งเน้นอภิปรัชญาและจิตวิทยา นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงมีมามสาและเวทานตะ ซึ่งมาเชื่อมโยงกันด้วยคำสอนในพระเวท โดยมีจุดหมายในการเข้าถึงโมกษะอย่างเด็ดขาด

หัวข้อประเด็น

-ปรัชญาโยคะ
-ปรัชญาสางขยะ
-โมกษะ
-วิถี 8 ทาง
-มีมามสา
-เวทานตะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปรัชญาโยคะและสางขยะ เป็นปรัชญาที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ทั้งนี้เพราะปรัชญาสาง ขยะจะเน้นหนักในด้านอภิปรัชญาและจิตวิทยา นั่นคือมีลักษณะเป็นแบบทฤษฎีแต่สำหรับ ปรัชญาโยคะแล้วมุ่งในทางปฏิบัติมากกว่าเพื่อให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น (โมกษะ) ปรัชญาโยคะจึง มีลักษณะเป็นแบบเทวนิยม (theistic) มากกว่าสางขยะ เพราะยอมรับในความมีอยู่ของพระผู้ เป็นเจ้าและการที่จะหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ก็ต่อเมื่อได้เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า ผู้ซึ่งเป็นบุรุษะ พิเศษที่อยู่ในสถานะโมกษะตลอดกาล ซึ่งวิธีการที่จะเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้านั้นต้องปฏิบัติตามวิถี 8 ทาง คือ 1) ยมะ สำรวมความประพฤติ 2) นิยมะ การบำเพ็ญข้อวัตรทางศาสนา 3) อาสนะ ท่านั่งที่ถูกต้อง 4) ปราณายามะ การบังคับลมหายใจไปในทางที่ต้องการ 5) ปรัตยาหาระ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย 6) ธารณา การทำใจให้มั่นคง 7) ธนายะ การเพ่ง 8) สมาธิ การทำใจให้แน่วแน่ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งระบบปรัชญาโยคะจะเน้นการ ปฏิบัติในข้อที่ 8 คือสมาธิมากที่สุด เพราะถือว่าเป็นจุดหมายปลายทางของระบบที่จะได้รับ ภาวะอันบริสุทธิ์และอิสระ คู่ที่สาม มีมามสา (Mimamsa) ศาสนาของระบบปรัชญานี้คือ ไชมินิ ผู้รจนา มีมามสาสูตร ระบบปรัชญามีมามสาเป็น ระบบปรัชญาที่มุ่งพิจารณาสอบสวนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในพระเวท ถึง แม้จะมีหลักคำสอนสืบเนื่องจากพระเวท แต่ก็อธิบายคำสอนไปในรูปปรัชญาโดยมุ่งสู่การหลุด พ้นจากทุกข์โดยเด็ดขาด แทนที่จะมุ่งหวังเพียงสวรรค์เท่านั้น ผู้ปรารถนาในโมกษะจึงต้องเป็น ผู้ที่ก้าวพ้นจากบุญ-บาป สวรรค์-นรก ด้วยการบำเพ็ญสมาธิ และปฏิบัติตามคำสอนในพระเวท เวทานตะ (Vedanta) ปรัชญามีมามสา และเวทานตะนั้น มีความใกล้ชิดสัมพันธ์กันมาก เพราะทั้ง 2 ระบบต่าง ก็กล่าวถึงคำสอนในพระเวท หากจะแตกต่างก็ตรงที่ปรัชญามีมามสาเป็นปรัชญาที่เกี่ยวกับ คำสอนในตอนต้นของพระเวท จึงมีชื่อเรียกว่า ปรวมมามสา ซึ่งในตอนต้นนี้จะเกี่ยวกับกรรมทัณฑ์ หรือตอนที่ว่าด้วยเรื่องการกระทำพิธีกรรมและบูชายัญ ส่วนในตอนปลายของพระเวทซึ่งเรียกว่า “อุตตรมีมามสา” นั้นจะเป็นคำสอนที่เกี่ยวกับญาณวิทยา หรือความรู้ในความเป็นจริง ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของปรัชญาเวทานตะ และรามานุชะซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ในสมัยอวตารนี้ นักปราชญ์ฮินดูได้รวบรวมกฎและวินัย ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า ธรรม ได้ผูก ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 61
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More