การบริจาคศาสนทานซะกาตในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 420
หน้าที่ 420 / 481

สรุปเนื้อหา

การบริจาคซะกาตในศาสนาอิสลามคือการบริจาคทางการเงินหรือทรัพย์สินตามอัตราที่ศาสนากำหนด เพื่อช่วยเหลือผู้ยากจนและทำให้จิตใจของผู้บริจาคบริสุทธิ์ ช่วยลดช่องว่างในสังคม โดยซะกาตมาจากคำว่า "ซะกาฮฺ" หมายถึงการทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งทุกคนที่มีทรัพย์เกินกว่ากำหนดต้องนำมาบริจาคส่วนนี้ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่ออัลเลาะห์และช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายในสังคม บทความยังอธิบายถึงลักษณะและอัตราการบริจาคซะกาต

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของซะกาต
-วัตถุประสงค์ของการบริจาคซะกาต
-ลักษณะของการบริจาคที่ถูกต้อง
-อัตราการบริจาคซะกาต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4) การบริจาคศาสนทานซะกาต การบริจาคศาสนาทาน ศาสนาอิสลามเรียกว่า “ซะกาต” (Sakat) มาจากคำเดิม ในภาษาอาหรับว่า “ซะกาฮฺ ” แปลว่า การทำให้บริสุทธิ์ ความเจริญงอกงาม ซะกาต ในศาสนาอิสลาม หมายถึง การบริจาคซึ่งศาสนาบังคับให้ผู้มีทรัพย์สินมาก เกินจำนวนที่กำหนดไว้ (ในศาสนา) จ่ายแก่ผู้ควรได้รับ (ตามอัตราที่ศาสนากำหนด) ที่มาของการบริจาคซะกาต 1. คำสอนในศาสนาที่ให้มุสลิมทุกคนถือว่า บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายที่หามาได้นั้น คือ ของฝากจากอัลเลาะห์เจ้าให้จ่ายส่วนหนึ่งแก่คนยากคนจน 2. ชีวิตจริงของพระศาสดามะหะหมัด เคยผ่านความยากจนมาก่อน วัตถุประสงค์ของการบริจาคซะกาต 1. เพื่อชำระจิตใจของผู้บริจาคให้บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภและ เห็นแก่ตัว 2. เพื่อปลูกฝังให้มุสลิมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน 3. เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมด้วยวิธีการสังคมสงเคราะห์ ลักษณะของการบริจาคซะกาตที่ถือได้ว่าได้บุญกุศลตามความมุ่งหมาย 1. ทรัพย์สินที่บริจาคต้องได้มาด้วยความสุจริต 2. ต้องเต็มใจในการบริจาค ไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่เจตนาเพื่ออวดความมั่งมีและ ไม่ลำเลิกบุญคุณ อัตราการบริจาคซะกาต ทรัพย์ที่จะนำมาบริจาคซะกาตมีหลายประเภทด้วยกัน คือ 1. ซะการพืชผล อันได้แก่ การเพาะปลูกที่นำผลผลิตมาเป็นอาหารหลักในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ข้าว ข้าวสาลี เป็นต้น เมื่อมีจำนวนผลิตได้ 650 กก. ต้องจ่ายซะกาต 10% สำหรับการ ศ า ส น า อิ ส ล า ม DOU 405
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More