ข้อความต้นฉบับในหน้า
8.3.1 เก็งทั้ง 5 มีดังต่อไปนี้
1.
อี้จิง
จิง : คัมภีร์แห่งความเปลี่ยนแปลง มีลักษณะเป็นการให้ความรู้ทาง
จักรวาลวิทยา แสดงความเป็นมาของโลกและอภิปรัชญา ตามทัศนะของชาวจีนโบราณคัมภีร์นี้
เป็นการรวบรวมตำราเก่าแก่และบทนิพนธ์ของ พระจักรพรรดิเวนวิ่ง ปฐมราชวงศ์โจว และโจวคุง
แต่ขงจื้อเป็นผู้เขียนอรรถาธิบายในบั้นปลายแห่งชีวิตของเขา
2. ซูจิง : คัมภีร์ประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์และรัฐศาสตร์ย้อนหลังไปตั้ง
แต่ราชวงศ์ถัง ถึงรัชสมัยพระจักรพรรดิมุกุง แห่งราชวงศ์จิ้น คัมภีร์นี้มีความสำคัญต่อหลักคำ
สอนของขงจื้อ เพราะเป็นบันทึกเอกสารทางประวัติศาสตร์และข้อเขียนในสมัยโบราณและได้
แสดงปรัชญาทางศีลธรรมอย่างลึกซึ้งซึ่งเป็นรากฐานแห่งทัศนะทางศีลธรรมของขงจื้อ
3. ซือจิง : คัมภีร์คีตคาถา เป็นการรวบรวมบทกวีเก่าแก่ของจีน มีบทกวีจำนวน
305 บท คัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น 4 ภาค ดังนี้
4.
1. เพลงพื้นบ้านพื้นเมือง
2.
ยาเล็ก เป็นบทกวีบันทึกพระราชกรณียกิจของพระจักรพรรดิ
3. ยาใหญ่ เป็นบทกวีบันทึกพระราชกรณียกิจอันเด่นและสำคัญ
4. สุ เป็นบทกวียอพระเกียรติหรือเพลงสรรเสริญพระบารมี
หลี่จี้ : คัมภีร์จารีตพิธี กล่าวถึงจารีตพิธีเกี่ยวกับชีวิต 2 ประการดังนี้
1. พิธีการในการติดต่อกันทางสังคม พิธีเกี่ยวกับการรับรองบุตร การ
แต่งงาน การไว้ทุกข์ และการเซ่นไหว้
2.
สถาบันทางสังคมและทางประเทศชาติ
5. ชุนชิว : คัมภีร์บันทึกเหตุการณ์ฤดูวสันต์และฤดูสารท เป็นการบันทึก
เหตุการณ์ในเมืองหลู่ ย้ำถึงชีวิตที่ประกอบด้วยศีลธรรมของนักปกครอง และการปกครองโลก
โดยศีลธรรมของฟ้า คัมภีร์นี้เป็นประมวลจริยธรรมทางรัฐศาสตร์ที่ดีมาก แบ่งออกเป็น 2 ภาค
ดังนี้
1. ภาคที่ 1 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรายปีในเมืองหลู่ระหว่างปีที่
722-481 ก่อนคริสต์ศักราช
2. ภาคที่ 2 กล่าวถึงข้อคิดเห็นทั่วไป จอจุยเหม็ง ศิษย์ผู้ใกล้ชิดของ ขงจื้อ
ได้รวบรวมเขียนไว้เมื่อประมาณปีที่ 400 ก่อนคริสต์ศักราช
ศ า ส น า ข ง จื้อ
DOU 225