ความสำคัญของการปฏิบัติธรรมในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 430
หน้าที่ 430 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาอิสลามเน้นความสำคัญของการปฏิบัติธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยยกหลักสามประการที่มุสลิมต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นให้มีภาระหน้าที่ที่ถูกต้องต่อผู้อื่น โดยไม่สามารถแยกความเป็นหน้าที่ต่อพระเจ้าและต่อสังคมออกจากกันได้ ความดีของบุคคลจะขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากศาสดา แนวทางของอิสลามไม่สนับสนุนให้บุคคลเห็นแก่ตัวหรือเป็นทาสของวัตถุ คำสอนกล่าวว่าโลกนี้เป็นคุกสำหรับผู้ศรัทธาและเป็นสวรรค์สำหรับผู้ดื้อรั้น

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของหลักธรรม
- หน้าที่ของมุสลิม
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
- ความดีและการเห็นแก่ผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มั่นใจในองค์อัลลอฮ์ และมีการปฏิบัติสนองคำบัญชาของพระองค์อย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เป็นนิจศีลแล้ว จิตใจก็จะแนบเนื่องกับพระองค์ กิเลสตัณหาที่แทรกซ้อนในอารมณ์ก็จะถูก ปลดเปลื้องออกจนหมดสิ้น หลักสามประการดังที่กล่าวมานี้ เป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติและมีอยู่ในดวงจิตของตน ซึ่งเป็นหน้าที่เฉพาะตัวของมุสลิมแต่ละคน เมื่อ ปฏิบัติหลักสามประการนี้ครบถ้วนแล้ว หน้าที่อันดับต่อมาคือ การรับหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลอื่นหรือที่เรียกว่า “หลักธรรมทางสังคม” ซึ่งสังคมในที่นี้หมายถึง บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัว เองโดยกำหนดหลักกว้าง ๆ ว่า “บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นโดยฐานะใดก็จะต้องรับหลักธรรม เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นตามฐานะดังกล่าว” เหตุนี้จึงมีหลักธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อบิดามารดา ต่อสามี ต่อบุตรหลาน ต่อเพื่อนบ้าน ต่อคู่สัญญา ต่อลูกค้า ต่อผู้ปกครอง ต่อประเทศชาติ เป็นต้น คำสอนของศาสนาอิสลามจึงไม่ได้หมายความแต่เฉพาะการเฝ้าบำเพ็ญภาวนาต่อพระเจ้าอย่าง เดียว หากจะต้องปฏิบัติตนตามภาระหน้าที่ต่าง ๆ ตามฐานะของตนอย่างเหมาะสมและอย่าง รับผิดชอบอีกด้วย ภาระหน้าที่ต่อพระเจ้าและสังคมนั้นแยกกันไม่ออก จะต้องปฏิบัติควบคู่กันไป จะทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ แม้แต่การบัญญัติถึงหน้าที่ดังกล่าว คัมภีร์อัลกุรอานก็นำมารวม กันไว้ในประโยคเดียวกัน มิได้แยกให้เห็นถึงความลดหลั่นทางความสำคัญ ดังปรากฏในพระ คัมภีร์ว่า “พึงนมัสการต่อพระเจ้า จึงทำดีต่อพ่อแม่ ต่อวงศ์ญาติ ต่อเด็กกำพร้า ต่อคนอนาถา ต่อเพื่อนบ้านทั้งไกลและใกล้ ต่อเพื่อนสนิท และต่อคนเดินทาง” จากตัวอย่างที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า หน้าที่ต่อพระเจ้าและต่อสังคมเป็นหน้าที่ที่ ต้องปฏิบัติควบคู่กันไป จะแยกออกจากกันไม่ได้ และหน้าที่ทั้งสองนั้นต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ภารกิจทางสังคมที่ศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้นั้นเป็นเจตนารมณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ศาสดาและถือว่าความดีของบุคคลจะลดหลั่นไปตามการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ศาสนา อิสลามไม่สอนให้บุคคลเป็นคนเห็นแก่ตัว ดังโอวาทของศาสดามุฮัมมัดว่า “คนที่ดีที่สุดคือคน ที่มีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด คนใดคนหนึ่งจะยังไม่ถือว่ามีศรัทธาจนกว่า เขาจะรักผู้อื่นเท่ากับที่เขารักตนเอง” ศาสนาอิสลามไม่สอนให้คนยอมตนเป็นทาสสิ่งของต่างๆไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุธรรม เช่น ทรัพย์สมบัติหรือนามธรรม เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ เพราะการยอมตนเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ชีวิตวนเวียนอยู่ในโลกนี้ ทำให้วิญญาณหมดอิสรภาพที่จะทะยานไปสู่อาณาจักรแห่ง พระเจ้า ดังคำสอนว่า “โลกนี้เป็นคุกสำหรับผู้ศรัทธาและเป็นสวรรค์สำหรับผู้ดื้อรั้น” ศาสนาอิสลาม DOU 415
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More