ข้อความต้นฉบับในหน้า
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เป็นวันเริ่มแห่งการเข้าพรรษา นักบวชผู้เป็นสันยาสีจะต้อง
อยู่ประจำที่ 4 เดือน เพราะเป็นฤดูฝน นอกจากเดินทางไม่สะดวกแล้ว ยังมีแมลงเกิดขึ้น
มากมายอาจเหยียบย่ำสัตว์เหล่านี้ ทำให้เป็นบาปติดตัว
เดือน 8
วันขึ้น 2 ค่ำ จะมีการแห่รูปพระวิษณุ โดยเฉพาะที่แคว้นอัสสัมมีการฉลองพิธีนี้
อย่างใหญ่โต วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันไหว้ครู
เดือน 9
วันขึ้น 5 ค่ำ เรียกวันนาคปัญจมี จะทำการบูชาพญานาคด้วยน้ำนม ถ้างูกินของผู้ใด
ผู้นั้นจะไม่ได้รับอันตรายจากงูเป็นเวลา 1 ปี
แรม 4 ค่ำ เป็นวันบูชาพระพิฆเนศ ซึ่งต้องอดอาหารตลอดวันจนพิธีเสร็จ และ
พระจันทร์ปรากฏขึ้นเมื่อใดจึงจะรับประทานอาหารได้
แรม 6 ค่ำ เป็นวันบูชาพระสุริยเทพ ส่วนแรม 8 ค่ำ บูชาพระกฤษณะด้วยการอด
อาหารจนถึงเที่ยงคืนจึงจะรับประทานอาหาร
เดือน 10
วันขึ้น 3 ค่ำ เป็นวันสำคัญของพระแม่อุมาและพระศิวะ เชื่อกันว่าสตรีใดบำเพ็ญ
ตบะในวันนี้ จะได้สามีที่ดี และจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะเป็นวันที่พระแม่อุมาทรง
บำเพ็ญตบะวิงวอนขอแต่งงานกับพระศิวะ และพระศิวะได้ตกลงรับสัญญาพร้อมทั้งให้พรสตรีที่
บำเพ็ญตบะในวันนี้
วันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่ศาสนิกชนทำพิธีบูชาสักการะดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่
ล่วงลับไปแล้ว และจะเชิญพวกสันยาสีมาฉันอาหารที่บ้าน
เดือน 11
ในเดือนนี้ตลอดวันขึ้น 1 ค่ำถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เป็นวันนวราตรี จะมีการทำพิธีบูชาตลอด
9 วัน เช่นเดียวกับเดือน 5 ส่วนวันขึ้น 10 ค่ำ เป็นวันบูชาพระแม่อุมา โดยเฉพาะพวกวรรณะ
กษัตริย์จะต้องบูชาเป็นพิเศษ เชื่อกันว่าใครบูชาพระนางในวันนี้จะได้รับชัยชนะตลอดปี
วันขึ้น 15 ค่ำ ในตอนกลางคืนพวกพราหมณ์และผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู จะบูชา
พระวิษณุด้วยสิ่งของสีขาวล้วน
แรม 13 ค่ำ เป็นวันที่ผู้นับถือศาสนาทำพิธีบูชาพระแม่ลักษมี พระพิฆเนศ พระกุเวร
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 85