ข้อความต้นฉบับในหน้า
ของตนหนักจนไม่มีทางแก้ มนุษย์ก็หมดหวัง
2. สมุทัย หรือ ทุกขสมุทัย แปลว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ พระพุทธเจ้า
ทรงรู้แจ้งในสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1) กามตัณหา คือความทะยานอยากและความเพลิดเพลิน ยินดีในกามหรือสิ่งที่
น่าใคร่น่าพอใจ
คำว่า “กาม” ตามความหมายทางพระพุทธศาสนา มี 2 อย่าง ดังต่อไปนี้
1. กิเลสกาม ได้แก่กิเลสที่ทำให้เกิดความใคร่ความพอใจ
2. วัตถุกาม ได้แก่วัตถุหรืออารมณ์ที่ชวนให้รู้สึกใคร่พอใจ และติดใจอย่าง
หนึ่ง วัตถุกามคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย
หรือผิวหนัง)
2) ภวตัณหา คือความอยากเป็นสภาพที่ตนปรารถนาจะเป็น เช่น อยากเป็นดารา
อยากเป็นผู้แทนราษฎร อยากเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
3) วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากเป็นสภาพที่ตนไม่ปรารถนาจะเป็น เช่น ไม่
อยากเรียนซ้ำชั้น ไม่อยากเป็นคนแก่ ไม่อยากเจ็บป่วย ไม่อยากมีผมหงอก เป็นต้น
3. นิโรธ หรือ ทุกขนิโรธ แปลว่า ความดับสนิทแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า
การดับทุกข์ต้องดับที่เหตุซึ่งทำให้ทุกข์เกิด เมื่อเหตุดับไปแล้ว ผลซึ่งเกิดจากเหตุย่อมดับไปด้วย
และความดับสนิทแห่งทุกข์ในที่นี้หมายถึงการดับตัณหาทั้ง 3 นั้นเอง
การที่จะดับตัณหาโดยตรงนั้นกระทำได้ยาก เพราะตัณหามีพลังแรง ตัณหาเป็น
พฤติกรรมของจิตที่เกิดมาคู่กับจิตจนทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ความอยากเป็นธรรมชาติของ
จิตซึ่งจะแยกกันไม่ออก นอกจากนั้น คนยังมีความอาลัยความรักในตัณหาโดยเข้าใจว่าตัณหา
เป็นของตนเองหรือเป็นของตนเองเลยทีเดียว จึงไม่อยากกำจัดตัณหา เปรียบเสมือนไฟที่กำลัง
ลุกโพลงเต็มที่จะให้ดับลงในทันทีทันใดนั้นย่อมเป็นการยากฉะนั้นการดับตัณหาจึงค่อย ๆ กระทำ
ไปตามลำดับขั้น ขั้นตอนแห่งการดับตัณหาเรียกว่า มรรคมีองค์ 8
4 มรรค หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แปลว่า ทางหรือมรรควิธีที่จะนำไปสู่
ความดับทุกข์ หรือดับตัณหา นั้นเอง อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
ศ า ส น า พุทธ
DOU 153