ข้อความต้นฉบับในหน้า
วัตถุแห่งความฝันเหล่านี้เขามักจะจำลองไว้ด้วยเงินภายในวัดหรือตามริมท่าแม่น้ำคงคา
ในวัดเซนทุกวัดต้องมีวัตถุเหล่านี้ประจำ แต่บางวัดยังมีเปลซึ่งถือว่าเป็นเปลของมหาวีระ พอถึง
วันแห่ก็นำสิ่งเหล่านี้ออกมาแห่ด้วยในขบวนแห่นั้นมีรูปภาพของมหาวีระใหญ่โตและหนังสือคัมภีร์
นิยมแห่ไปยังท่าแม่น้ำคงคา หรือไม่ก็สุดแต่กำหนดกันขึ้นว่าจะแห่ไปที่ใด
4. ระยะที่สี่ ในวันที่ 6 – 7 คงมีแต่การอ่านกัลปสูตรอย่างเดียว
ชั่วโมง
5. ระยะที่ห้า ในวันที่ 8 มีการอ่านคัมภีร์ทุกคัมภีร์ ในการอ่านคัมภีร์ทุกระยะ มีนักบวช
คอยอธิบายข้อความให้ผู้อ่านฟัง การอ่านคัมภีร์นั้นกำหนดไว้ว่า ต้องอ่านคัมภีร์ตอนละ 3 ชั่วโ
ทั้งเช้าและบ่าย ทุกๆ วัน และวันหนึ่ง ๆ ต้องอ่าน 2 ตอน รวมเป็นเวลา 6 ชั่วโมง
4.7 นิกายในศาสนา
หลังจากพระมหาวีระได้นิพพานแล้ว สาวกของพระมหาวีระได้แตกแยกเป็นหมู่ เป็นคณะ
แยกกันปฏิบัติตามหลักที่ตนเห็นว่าทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ แต่นิกายที่แยกออกไปนั้นยังคง
มุ่งไปหาหลักอหิงสาธรรมอย่างเดียวกันแตกต่างกันก็เพียงหลักการบางอย่างบางประการเท่านั้น
นิกายที่สำคัญในศาสนาเชน มี 2 นิกายใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
1. นิกายทิฆัมพร ได้แก่ นิกายเปลือยกายหรือนักบวชแบบชีเปลือย ปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ทรมานตนให้ลำบากนานัปการ ไม่ยอมมีเครื่องปกปิดร่างกาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าการมี
เครื่องแต่งกายหรือมีผ้าปกปิดร่างกายนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับบริขารของตน หรือ
อาจเป็นเครื่องกังวลใจที่ต้องรักษาและแสวงหามา แต่เมื่อตนได้ถือเพศเป็นนักพรตเปลือยแล้ว
ความกังวลใจในเรื่องนี้ก็เป็นอันหมดไป นอกจากไม่มีบริขารแล้ว พวกเขาก็มีเพียงไม้กวาดและ
ผ้ากรองน้ำเพื่อมิให้สิ่งมีชีวิตถูกเบียดเบียนหรือต้องตายเพราะตน หลักปฏิบัติอันเคร่งครัดจริง ๆ
มีอีก 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ไม่กินอาหารใด ๆ แม้น้ำก็ไม่ยอมให้ล่วงลำคอในคราวปฏิบัติ
2. ไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวแม้แต่ผ้านุ่ง สัญจรไปด้วยตัวเปล่าเปลือยกาย
3. ไม่ยอมให้ผู้หญิงปฏิบัติตามและบรรลุธรรม
2. นิกายเศวตัมพร ได้แก่ นิกายนุ่งขาวห่มขาวเพียงเพื่อปกปิดกายของตนเท่านั้น ทั้งนี้
Kedar Nath Tiwari. Comparative Religion, 1983 p. 87-88.
ศาสนาเชน
DOU 111