ข้อความต้นฉบับในหน้า
(4) ปัจฉิมโอวาทของศาสดา
นบีมุฮัมมัดได้สั่งสอนศาสนิกชนในการประกอบพิธีฮัจญ์เป็นครั้งสุดท้ายที่ทุ่งอาระ
ฟะฮ์ว่า “ตั้งแต่วันนี้ไป การกู้ยืมเพื่อดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม การแก้แค้นฆ่ากันตายต้องยุติ บุรุษ
มีสิทธิ์เหนือสตรีและสตรีก็มีสิทธิ์เหนือบุรุษ จงให้ความยุติธรรมและความปราณีแก่ภรรยา จง
ให้อาหารอย่างที่ท่านบริโภคแก่ทาสหรือคนใช้ จงให้เสื้อผ้าอย่างที่ตนใช้ ถ้าเขาทำผิดอย่างให้
อภัยไม่ได้ก็จงให้เขาไปเสีย อย่ารุนแรงกับเขา เพราะเขาก็เป็นข้าของอัลเลาะฮ์ มุสลิมทุกคน
เป็นพี่น้องกัน เป็นเครือญาติเดียวกันมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน มีหน้าที่เหมือนกัน จงอย่าเบียดเบียน
หรือแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบจากกัน อย่าเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตนเมื่อเขา
ไม่อนุญาต จงพยายามห่างจากความลำเอียงหรือความอยุติธรรม เราได้ทิ้ง 2 สิ่งไว้ คือ อัลกุรอาน
และแบบฉบับของเรา หากพวกท่านยึดมั่นใน 2 สิ่งนี้ พวกท่านจะไม่หลงทางเลย”
(5) พระเจ้าสูงสุดของศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามไม่นิยมเรียกพระเจ้าสูงสุดว่าพระเจ้า (God) แต่จะเรียกพระนาม
ตามภาษาอาหรับ คือ “อัลลอฮ์” (Allah) และจะต้องมีคำต่อท้ายว่า “ซุบฮาฯ” ซึ่งมาจากคำว่า
“ซุบฮานะฮูวะตะอาลา” ซึ่งอาจารย์ เสาวนีย์ จิตต์หมวด ได้แปลความหมายไว้ว่า “มหา
บริสุทธิ์และความสูงยิ่งแด่พระองค์” อันเป็นคำสดุดีที่แสดงถึงความเคารพตามแบบอิสลาม
มุสลิมไม่นิยมเรียกอัลลอฮฺเฉยๆ
คำว่า “อัลลอฮ์” หมายถึง “พระผู้ทรงพลังอำนาจ” ที่มีอยู่อย่างแน่นอน และมีอยู่
ตลอดไปไม่มีการดับสูญ พระองค์ไม่มีรูปกายแต่ดำรงความเป็นหนึ่งเดียว สิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ล้วนเป็นสิ่งสร้างของพระองค์และเป็นไปตามที่พระองค์ทรงกำหนด พระองค์มีพระเมตตาจึงส่ง
ศาสดาประกาศกมาประกาศข่าวแก่มนุษย์เป็นระยะๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่าง
เหมาะสม และทรงประทานกฎข้อบังคับต่างๆ มาให้พวกเขาเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
ที่สมบูรณ์ที่สุดตามวิถีทางของอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อ
ตัดสินพิพากษาโลกในวันสุดท้าย ฉะนั้นมนุษย์ต้องยอมรับอิสลามเพื่อเป็นวิถีทางที่ชีวิตของ
ตนเองจะได้อยู่รอดปลอดภัย
คำว่า “อิสลาม” อาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด. ได้อธิบายไว้ว่ามาจาก “อัสละมะ”
1 เสาวนีย์ จิตต์หมวด. วัฒนธรรมอิสลาม, 2535 หน้า 83-84.
* เสาวนีย์ จิตต์หมวด, วัฒนธรรมอิสลาม, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2535 หน้า 477.
3 เล่มเดียวกัน, หน้า 7.
416 DOU ศาสนศึกษา