การเป็นคนซื่อสัตย์และลักษณะชีวิตที่มีสุขสูงสุด DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 220
หน้าที่ 220 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของการซื่อสัตย์ ความอ่อนโยน และลักษณะของชีวิตที่มีสุขสูงสุดตามแนวคิดของเล่าจื้อ โดยยกตัวอย่างการเปรียบเทียบกับน้ำที่ไม่มีความพยายามแข่งขัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงลักษณะของคนดีที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ชีวิตที่เรียบง่ายตามธรรมชาติเป็นชีวิตที่มีสุขสูงสุดเดียวกับหลักการทางเต๋า เชิญติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การซื่อสัตย์
-ความอ่อนโยน
-ชีวิตมีความสุข
-ลักษณะของคนดี
-แนวคิดเต๋า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คนที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อเรา เพราะฉะนั้น ทุกคน ที่ว่า เราก็ซื่อสัตย์ต่อด้วย จึงควรเป็นคนซื่อสัตย์” หรือสอนให้เอาความอ่อนโยนสู้ความแข็งกร้าว (Gentles overcome strengths) ดัง “เมื่อคนเราเกิดนั้น เขาอ่อนและไม่แข็งแรง id แต่เมอตาย เขาแข็งและกระด้าง เมื่อสัตว์และพืชยังมีชีวิต ก็อ่อนและดัดได้ แต่เมือตาย ก็เปราะและแห้ง เพราะฉะนั้น ความแข็งและความกระด้างจึงเป็นพวกพ้องของความตาย ความอ่อนและความสุภาพ จึงเป็นพวกพ้องของความเป็น ด้วยเหตุนี้ เมื่อกองทัพแข็งกร้าว จึงแพ้ในสงคราม เมื่อต้นไม้แข็ง จึงถูกโค่นลง” “สิ่งที่ใหญ่และแข็งแรง จะอยู่ข้างล่าง สิ่งที่สุภาพและอ่อนโยน จะอยู่ข้างบน....” 7.4.3 ลักษณะคนดีและชีวิตที่มีสุขสูงสุด เล่าจื้อสอนไว้ว่า “คนดีที่สุดมีลักษณะเหมือนน้ำ น้ำทำประโยชน์ให้แก่ทุกสิ่ง และ ไม่พยายามแก่งแย่งแข่งดีกับสิ่งใด ๆ เลย น้ำขังอยู่ในที่ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นที่ใกล้เต๋า....” (สิ่งทั้ง หลายเจริญเติบโตขึ้นมาด้วยน้ำ แต่น้ำไม่พยายามจะเลื่อนตัวเองให้ไปอยู่ระดับสูง น้ำกลับ พอใจอยู่ในที่ต่ำที่ทุกสิ่งทุกอย่างพยายามหลีกเลี่ยง นี่แหละคือลักษณะหรือธรรมชาติของ “เต๋า”) ชีวิตที่เป็นไปง่าย ๆ ไม่มีการแก่งแย่งแข่งเด่น แข่งดี ปล่อยให้เป็นไปตามวิวัฒนาการ ของธรรมชาติไม่มีการดิ้นรนเพื่อแสวงหาตำแหน่งหน้าที่ ให้เกิดอำนาจแก่ตน ทำประโยชน์ให้ผู้ อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนคือ ชีวิตที่มีสุขสูงสุด ตามทรรศนะของเล่าจื้อ 1 พจนา จันทรสันติ, วิถีแห่งเต๋า, 2523 หน้า 168. ศาสนาเต๋า DOU 205
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More