มานวธรรมศาสตร์และภควัทคีตาในศาสนาฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 77
หน้าที่ 77 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงมานวธรรมศาสตร์และบทบาทของภควัทคีตาในศาสนาฮินดู โดยเน้นว่าภควัทคีตาเป็นหนังสือที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับคนทุกวรรณะ ไม่เหมือนพระเวทที่จำกัดเฉพาะบางกลุ่ม จุดมุ่งหมายคือการให้ทุกคนเข้าถึงหลักธรรมและหน้าที่ของตนเพื่อความมั่นคงของสังคม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงสมัยราชวงศ์คุปตะที่ฟื้นฟูศาสนาฮินดู และการแยกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ ในอินเดียที่เป็นผลมาจากแรงกดดันของพวกฮั่นและมิลักขะ พร้อมการวิเคราะห์ความเสื่อมของศาสนาฮินดูในยุคนี้.

หัวข้อประเด็น

- มานวธรรมศาสตร์
- ภควัทคีตา
- ศาสนาฮินดูและการปฏิบัติ
- สมัยราชวงศ์คุปตะ
- การแยกของอาณาจักรอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นกาพย์ง่ายๆ สำหรับชาวฮินดูทั่วไปไว้ใช้ปฏิบัติเรียกว่า มานวธรรมศาสตร์ แปลว่า กฎข้อ บังคับของพระมนู นอกจากมานวธรรมศาสตร์แล้วยังมีหนังสืออีกเรื่องที่ องที่น่าสนใจคือ “ภควัทคีตา” ซึ่งเป็น ส่วนที่เติมมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ภควัทคีตานี้เป็นหนังสือที่อ่านได้ง่าย ทุกวรรณะไม่ หวงห้ามเหมือนพระเวทที่อ่านได้เฉพาะคนบางวรรณะ ดังนั้นจุดประสงค์ของหนังสือเรื่องนี้ก็ เพื่อให้คนทุกชั้นได้รับรู้หลักธรรมโดยไม่จำเป็นต้องออกบวชกันทุกคนใครจะบวชก็ได้ไม่บวชก็ได้ แม้เพียงรู้จักหน้าที่ของตนและปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ ให้ดีที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทนก็สามารถ นำผู้นั้นไปสู่ความจริงอันสูงสุดดังนั้นภควัทคีตาจึงเป็นหนังสือธรรมที่สอนมนุษย์ให้คำนึงถึงสังคม ไม่ใช่มุ่งความหลุดพ้นส่วนบุคคลเป็นสำคัญดังเช่นอุปนิษัท แต่มนุษย์มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำ เพื่อรักษาความมั่นคงของสังคมเพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ แม้นว่าจะต้องตายในหน้าที่ก็ตาม 3.1.8 สมัยเสื่อม เป็นสมัยที่ราชวงศ์คุปตะ ซึ่งเป็นเชื้อสายฮินดูแท้โค่นอำนาจกษัตริย์ราชวงศ์กุษานะสำเร็จ แล้วได้ฟื้นฟูศาสนาฮินดูขึ้นใหม่ ราชวงศ์นี้ครองความรุ่งเรืองอยู่ได้ประมาณ 2 ศตวรรษก็เสีย อำนาจให้แก่พวกฮั่นซึ่งรุกรานอินเดียเข้ามาทางแคว้นปัญจาบและปกครองอินเดียอยู่ประมาณ 50 ปี จึงถูกกษัตริย์อินเดียขับไล่ออกไปเมื่อปี พ.ศ. 1071 หลังจากนี้อินเดียแบ่งแยกออกเป็น 2 อาณาจักรใหญ่ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคืออาณาจักรชายทะเลฝั่งตะวันตก (ราชวงศ์จาลุกย์) กับ อาณาจักรชายทะเลฝั่งตะวันออก (พวกปัลลวะ) ครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลาตอนปลายของยุคนี้ ปรากฏว่า เจ้าผู้ครองนครอินเดียภาคเหนือพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “หรรษาวัฒนา” สามารถรวบรวมดินแดนภาคเหนือไว้ในอำนาจได้ทั้งหมด และพยายามขยายตัวลงมาทางใต้ แต่ไม่สำเร็จเพราะระหว่างนี้พวกมิลักขะมีกำลังเข้มแข็งมาก อินเดียปลายยุคนี้จึงแยกเป็น 2 อาณาจักรอีกครั้งหนึ่ง คือ อาณาจักรเหนือ (ระหว่างภูเขาหิมาลัย ลุ่มแม่น้ำนัมทา) กับ อาณาจักรใต้ (ตลอดคาบสมุทรเดคคาน) ซึ่งพระเจ้าหรรษาวัฒนาทรงเลื่อมใสศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ทรงอุปถัมภ์นิกายนี้และทรงเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาฮินดู สมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคเสื่อมของศาสนาฮินดู เพราะ 1. เป็นสมัยที่ศาสนาฮินดูแตกแยกเป็นนิกายต่าง ๆ มากมาย แต่ละนิกายมีข้อปฏิบัติ เสื่อมทรามลงกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะนิกายใหญ่ที่สำคัญ 2 นิกาย คือ นิกายที่นับถือพระศิวะ 62 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More