อภิสิทธิ์ชนและคุณธรรมในศาสนาอิสลาม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 428
หน้าที่ 428 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงอภิสิทธิ์ชนซึ่งทุกคนล้วนเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ และวิธีการดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายของอัลลอฮ์ โดยผู้ปกครองมีหน้าที่รับใช้ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์และหลักการที่ถูกกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งแยกสิ่งที่ควรปฏิบัติกับสิ่งที่ต้องละเว้นให้ชัดเจน เช่น การกระทำดีและการหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดศีลธรรม เช่น การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มมึนเมา การพูดความจริง การจ่ายค่าแรง ฯลฯ

หัวข้อประเด็น

-อภิสิทธิ์ชน
-หลักคุณธรรม
-ฮะลาลและฮะรอม
-การกระทำดีในศาสนาอิสลาม
-หน้าที่ของผู้ปกครอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อภิสิทธิ์ชน เพราะทุกคนต่างก็เป็นบ่าวของอัลลอฮ์ วิธีการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้กฎหมายของ อัลลอฮ์เหมือนกัน แม้แต่ผู้ปกครองก็ไม่มีสิทธิ์ใช้ตำแหน่งหน้าที่และอำนาจข่มขู่หรือเอาเปรียบ ประชาชน ศาสนาอิสลามถือว่าผู้ปกครองที่ดีนั้น คือ ผู้ปกครองที่รับใช้ประชาชนด้วยความ ซื่อสัตย์และบริสุทธิ์ใจนั่นเอง (3) หลักคุณธรรมหรือหลักความดี (อิห์ซาน) หลักคุณธรรมหรือหลักความดี คือการกำหนดว่าสิ่งใดที่ควรปฏิบัติ และสิ่งใดต้อง ละเว้น ข้อกำหนดเหล่านี้ปรากฏอยู่แล้วในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งแยกออกเป็นสองตอนคือการ กระทำที่อนุญาต เรียกว่าฮะลาล (HALAL) และการกระทำที่ต้องห้าม เรียกว่าฮะรอม (HARAM) 1) การกระทำที่อนุญาต หมายถึง การอนุญาตให้กระทำความดี ซึ่งความดีใน ศาสนาอิสลาม หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ว่า ดี สิ่งนั้นต้องดี ไม่ว่าคน ทั้งหลายจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างของการกระทำที่จัดเป็นการกระทำที่ดีใน ศาสนาอิสลาม เช่น - - บอกทางให้แก่ผู้หลงทาง หยิบสิ่งอันตรายออกจากทางเดิน - ไม่เข้าใกล้ ใกล้เครื่องดื่มและของมึนเมา ไม่เข้าใกล้สิ่งลามกอนาจาร ต่อสู้ถ้ามีการกดขี่ พูดความจริงต่อหน้าผู้ปกครอง จ่ายค่าแรงก่อนเหงื่อจะแห้ง ไม่เป็นคนหลงชาติหลงตระกูล ไม่เป็นคนทำบุญเอาหน้าหวังชื่อเสียงหรือต้องการให้ชื่อของตนไปติดอยู่ที่ อาคารใด อาคารหนึ่ง การไม่กินดอกเบี้ย ไม่ติดสินบน การแต่งงานที่ใช้เงินน้อยและมีความวุ่นวายน้อยที่สุด การยกฐานะคนใช้ให้มีการกินอยู่เหมือนกับตน ฯลฯ ศ า ส น า อ ส ล า ม DOU 413
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More