ความหมายของศาสนาในทรรศนะต่างๆ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 22
หน้าที่ 22 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้นำเสนอความหมายของศาสนาจากมุมมองที่หลากหลายของนักคิดต่างๆ เช่น พระยาอนุมานราชธน ซึ่งเห็นว่าศาสนาเป็นการบูชาพระเจ้าผ่านความเคารพและความกลัว, หลวงวิจิตรวาทการที่ชี้ให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์และจรรยาของศาสนา, Emile Durkheim ที่มองว่าเป็นระบบความเชื่อเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ A.C Bouget ที่เน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสรุปให้เห็นว่าศาสนาเป็นคำสอนที่ศาสดาเผยแผ่เพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติตามด้วยความเคารพเเละมีจุดมุ่งหมายเพื่อสันติสุขในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของศาสนา
-มุมมองของพระยาอนุมานราชธน
-มุมมองของหลวงวิจิตรวาทการ
-มุมมองของ Emile Durkheim
-มุมมองของ A.C Bouget

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.1.4 ในทรรศนะของพระยาอนุมานราชธน ให้ความหมายว่า ศาสนา คือ ความเชื่อ ซึ่งแสดงออกมาให้ปรากฏเห็นเป็นกิริยาอาการของผู้เลื่อมใส ว่ามีความเคารพเกรงกลัว ซึ่ง อำนาจอันอยู่เหนือโลกหรือพระเจ้า ซึ่งบอกให้ผู้เชื่อรู้ได้ด้วยปัญญา ความรู้สึกเกิดขึ้นเองโดย สัญชาตญาณ ว่าต้องมีอยู่เป็นรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องเป็นผู้สร้าง และเป็นผู้กำหนด วิถีชีวิตของมนุษย์ให้มีอยู่ เป็นอยู่ กล่าวกันง่ายๆ ศาสนา คือ การบูชาพระเจ้า ผู้ซึ่งมีทิพย อำนาจอยู่เหนือธรรมชาติด้วยความเคารพกลัวเกรง 1.1.5 ในทรรศนะของหลวงวิจิตรวาทการ ให้ความหมายว่า ศาสนาเป็นเรื่องที่ถือว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางจรรยา มีศาสดา มีคณะบุคคลที่รักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนไว้ เช่น พระหรือนักบวช และมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี 1.1.6 ในทรรศนะของ Emile Durkheim ให้ความหมายว่า ศาสนา คือ ระบบรวมว่า ด้วยความเชื่อและการปฏิบัติเพื่อความสัมพันธ์ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 1.1.7 ในทรรศนะของ A.C Bouget ให้ความหมายว่า ศาสนา หมายถึง ความสัมพันธ์ อันแนบแน่นระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่มิใช่มนุษย์ คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ สิ่งที่สามารถ ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองหรือพระเจ้าแต่สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการมากกว่าเกี่ยวข้องกับบุคคล ศาสนา คือ หนทางอย่างหนึ่งซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจุดมุ่งหมาย จุดประสงค์ ความเชื่อของเขา จากทรรศนะต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดในตอนต้นนั้น สามารถสรุปให้ครอบคลุมความ หมายของศาสนาทั้งที่เป็นเทวนิยมและอเทวนิยมได้ว่า ศาสนา คือ คำสอนที่ศาสดานำมาเผยแผ่ สั่งสอน แจกแจง แสดงให้มนุษย์ละเว้นจากความชั่ว กระทำแต่ความดี เพื่อประสบสันติสุขใน ชีวิตทั้งในระดับธรรมดาสามัญและความสุขสงบนิรันดร ซึ่งมนุษย์ยึดถือปฏิบัติตามคำสอนนั้น ด้วยความเคารพเลื่อมใสและศรัทธา คำสอนดังกล่าวนี้ จะมีลักษณะเป็นสัจธรรมที่มีอยู่ใน ธรรมชาติแล้วศาสดาเป็นผู้ค้นพบ หรือจะเป็นโองการที่ศาสดารับมาจากพระเจ้าก็ได้ อนุมานราชธน, พระยา, ประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณ, 2515 หน้า 15. 2 วิจิตรวาทการ, หลวง, ศาสนาสากล, 2510 หน้า 1-2. * Emile Durkheim. The Elementary Form of The Religious Life, 1964 P. 47. * A.C. Bouget. Comparative Religion, 1954 P.12. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา DOUG
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More