ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนะนำสั่งสอนให้ตั้งตนอยู่ในคุณธรรมความดีได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ พอมีหวัง
จะบานได้ในอนาคต แม้จะนานสักหน่อยก็ตาม แต่บางคนก็หมดปัญญาที่จะแนะนำได้ ย่อมตก
เป็นทาสของกิเลส มานะทิฐิ ตลอดไป เปรียบประดุจดอกบัวที่เพิ่งแตกจากเหง้า ยังไม่แน่ว่าจะ
ผุดขึ้นมาเหนือน้ำได้หรือไม่ อาจเป็นภักษาหารของปลาและเต่าก็ได้ เมื่อพระองค์ทรงพิจารณา
เห็นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงคิดสั่งสอนประชาชนต่อไป ครั้นแล้วจึงทรงพระดำริว่า ควรจะไปสั่งสอน
ผู้ใดก่อน บุคคลที่มีความรู้ความสามารถพวกแรกที่พระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงได้ คือ อาฬารดาบส
และอุททกดาบส แต่ขณะนั้นทั้งสองท่านได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว บุคคลต่อมาที่ระลึกถึงได้แก่
ปัญจวัคคีย์ ซึ่งได้หนีจากพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นผู้มีอุปการคุณต่อ
พระองค์ระหว่างทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์เป็น
พวกแรก
5.2.8 แสดงปฐมเทศนาและได้ปฐมสาวก
เมื่อทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ จึงได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตน
มฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในระหว่างทางได้สวนทางกับอาชีวก (นักบวชพวกหนึ่งนอก
พุทธศาสนา) ผู้หนึ่ง ชื่ออุปกะ ณ ตำบลระหว่างแม่น้ำคยากับมหาโพธิ์ต่อกัน อุปกะชีวกเมื่อ
เห็นพระพุทธเจ้ามีผิวพรรณผุดผ่องงดงามยิ่งนักก็สนใจ จึงถามว่า “ท่านมีผิวพรรณผ่องใสยิ่งนัก
ท่านชื่ออะไร บวชในสำนักผู้ใด ใครเป็นครูของท่าน” ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า “เรารู้
ธรรมด้วยตนเอง จะได้บวชในสำนักผู้ใดก็หาไม่ ฉะนั้นจึงไม่มีใครที่เป็นครูของเรา เราเป็นผู้
ตรัสรู้เอง” อุปกะชีวกไม่เชื่อจึงหลีกทางไป พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ในตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 และในที่สุดพระพุทธองค์ก็ได้พบกับปัญจวัคคีย์ และได้
ทำให้ปัญจวัคคีย์เชื่อในการตรัสรู้ของพระองค์ และพร้อมที่จะรับฟังธรรม ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น คือ
วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี จึงทรงแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เป็น
ปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ เมื่อปัญจวัคคีย์ได้พิจารณาไตร่ตรองธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรง
แสดงแล้ว ท่านโกณฑัญญะซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสที่สุดก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) คือ ได้เห็น
จริงตามทุกประการนับว่าเป็นบุคคลแรกในโลกที่ได้รู้ตามพระพุทธองค์แม้จะยังไม่ถึงขั้นสุดก็ตาม
แต่ก็เป็นขั้นแรกที่จะนำไปสู่ความตรัสรู้ต่อไป อันเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงดีพระทัยมากที่
ธรรมอันลึกซึ้งที่พระองค์ตรัสรู้แล้วนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เหลือวิสัยที่คนจะรู้ตามได้ ท่านโกณฑัญญะนี้
เป็นพยานยืนยันในความจริงข้อนี้เป็นอย่างดีถึงกับทรงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วต โภ
โกณฑัญโญ” 2 ครั้ง แปลว่า โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โดยนิมิตที่
ศ า ส น า พุทธ DOU 137