ชีวประวัติเล่าจื้อ: ปราชญ์ผู้มีอนาคต DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 215
หน้าที่ 215 / 481

สรุปเนื้อหา

เล่าจื้อถือเป็นปราชญ์ที่เกิดมาพร้อมกับสติปัญญาอันล้ำค่า เด็กทารกที่มีผมขาวและปาฏิหาริย์ในการชี้ฟ้าชี้ดิน เขาใช้เวลา 62 ปีในการเรียนรู้และค้นคว้าความรู้ ก่อนที่จะเผยแพร่ลัทธิเต๋าที่มีคุณธรรมสูง เมื่อโตขึ้นได้ทำงานเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่เมื่อเผชิญกับความทุจริตในสังคม เขาจึงตัดสินใจออกจากตำแหน่งเพื่อหาทางในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณธรรมอีกครั้ง

หัวข้อประเด็น

-เล่าจื้อและความฉลาด
-การศีกษาในวัยเด็ก
-ชีวิตในฐานะข้าราชการ
-การเผยแพร่ลัทธิเต๋า
-การหลีกหนีจากสังคมที่ไร้คุณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แล้วเล่าจื้อมีระดับสติปัญญาเยี่ยงผู้ใหญ่ ความเป็นปราชญ์มีมาตั้งแต่เป็นเด็กทารก แสดงถึง ความมีอนาคตที่ยิ่งใหญ่และก้าวไกล บางตำรากล่าวไว้ว่า นอกจากจะคลอดเป็นทารกผมขาวโพลนออกจากท้องแม่แล้ว ยังแสดงปาฏิหาริย์ คือ มือซ้ายชี้ไปบนท้องฟ้า มือขวาลงแผ่นดิน พร้อมทั้งเปล่งวาจาว่า “ใน ฟ้าเบื้องบน และในดินเบื้องล่างเต่าเท่านั้นควรเป็นที่สักการะ” บางตำรากล่าวไว้ว่า เล่าจื้ออยู่ในครรภ์มารดาถึง 62 ปี พอคลอดจากครรภ์มารดา ก็แก่ผมหงอกขาวความจริงแล้วไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นได้ น่าจะหมายความในเชิงเปรียบเทียบว่า การที่เล่าจื้อได้ค้นพบเต่าเป็นการเกิดใหม่ (ครั้งที่ 2) ก็ได้กล่าวคือ เล่าจื้อได้ใช้เวลาในการ พยายามค้นคว้าหาวิชาความรู้ ไม่เกี่ยวข้องกับสังคมเลย เมื่อได้หลักลัทธิแล้ว และเชื่อว่าดีแล้ว ควรจะเผยแพร่ได้แล้วก็ออกเผยแพร่ ตอนนั้นอายุของท่านได้ 62 ปี ก็เท่ากับว่าท่านได้เกิดใหม่ เหมือนกับท่านอยู่ในครรภ์มารดา 62 ปี จึงได้ค้นพบลัทธิใหม่ คือ เต๋า เล่าจื๊อเป็นคนฉลาดมาตั้งแต่เด็ก ชอบคิดลึก ช่างไตร่ตรองเป็นนิสัยตั้งแต่เยาว์วัย ได้รับการศึกษาจากธรรมชาติมากกว่าจากคน ได้รับการศึกษานอกระบบ มีหมู่คนและชีวิต เป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะตัว 7.2.2 ชีวิตมัชฌิมวัย จึงรับเข้าเป็น เมื่อเล่าจื๊อ โตขึ้นทางบ้านเมืองเห็นว่าเป็นคนฉลาดมีสติปัญญาดี ข้าราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหอสมุดหลวงที่นครลูกเลี้ยง อันเป็น ราชธานีของกษัตริย์ราชวงศ์จิว รับผิดชอบทำจดหมายเหตุเป็นอาลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน เล่าจื้อได้เป็นข้าราชการทำหน้าที่ให้กับกษัตริย์ราชวงศ์จิวเป็นเวลานาน ได้มีโอกาสศึกษา เหตุการณ์ ศึกษางาน ยิ่งเห็นความจริงอะไรหลายอย่างมากมาย ท่านเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ปฏิบัติตามลัทธิเต๋า เป็นผู้มีคุณธรรมสูง เมื่อมาถึงสมัยหนึ่งซึ่งประเทศชาติประสบปัญหา ยุ่งเหยิงเพราะการฉ้อราษฎร์บังหลวง การเอารัดเอาเปรียบในระหว่างข้าราชการด้วยกัน ผู้นำ ของประเทศไม่สามารถจะแก้ไขได้ เล่าจื้อเอือมระอาที่จะอยู่กับบุคคลที่ไร้คุณธรรม จนเกิด ความท้อแท้ใจ เมื่อหมดหนทางจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เล่าจื้อจึงคิดแก้ปัญหาให้แก่ตนเอง โดยการ หลีกหนีสละตำแหน่งสูงในราชการเสีย ปลีกตัวออกไปจากสังคม ออกเดินทางจากแคว้น * โจเซฟ แกร์. ศาสนาทั้งหลายนับถืออะไร แปลจาก What great religion believe, 2533 หน้า 110-111. 200 DOU ศ า ส น ศึ ก ษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More