ข้อความต้นฉบับในหน้า
หน้าอีก
ตั้งแต่ขึ้นหลังควายจากไปคราวนั้นแล้ว เล่าจื้อก็สาบสูญไปไม่ได้กลับมาให้ใครเห็น
เนื่องจากชีวิตบั้นปลายของเล่าจื้อเ
ซื้อเป็นชีวิตที่สงบสงัด แสวงหาธรรม หาความ
กลมกลืนกับธรรมชาติ ผู้นับถือลัทธิเล่าจื้อในสมัยต่อมาจึงบำเพ็ญตนเป็นนักบวช อาศัยอยู่
ตามภูผาป่าไม้ บำเพ็ญตนเป็นผู้เสียสละความวุ่นวายทั้งหลายในโลกเป็นเต้าสือ มีความเป็นอยู่
ตามภาวะของธรรมชาติ
ชาวจีนนับถือเล่าจื้อว่าเป็นมหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีน ได้สร้างปูชนียวัตถุเป็น
อนุสรณ์สถานที่ระลึกที่บูชาขึ้น ณ หมู่บ้านจูเรียน อันเป็นถิ่นกำเนิดของเล่าจื้อ ยิ่งนานวันคำ
สอนของเล่าจื้อก็ยิ่งแพร่หลายกลายเป็นฐานใจของชาวจีน พระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งของจีนที่
ขึ้นเสวยราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1193-1231 ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกายกย่องเล่าจื้อขึ้นเป็น
ปฐมจักรพรรดิ
7.3 คัมภีร์ ในศาสนา
คัมภีร์ของศาสนาเต๋า คือ คัมภีร์เต้าเตกเกง (Tao-Teh-Ching) คำว่า “เต้า” หรือ “เต๋า”
แปลว่า ทาง “เตก” แปลว่า บุญ ความดี หรือคุณธรรม “เกง” แปลว่า สูตร หรือวรรณคดีชั้นสูง
รวมกันแล้วอาจแปลได้ความว่า คัมภีร์แห่งเต๋าและคุณความดี ตามประวัติกล่าวว่าเล่าจื้อเขียน
ขึ้นหลังจากได้ลาออกจากตำแหน่งบรรณารักษ์แห่งหอสมุดหลวง และได้มอบให้นายด่านที่
พรมแดนระหว่างประเทศจีนกับธิเบต อักษรจารึกเป็นภาษาจีน จัดเป็นหัวข้อได้ 81 ข้อ เป็น
ถ้อยคำ 5,500 คำ และต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่นละติน อังกฤษ ฝรั่งเศส มาก
เป็นที่สองของคัมภีร์ไบเบิ้ลแห่งศาสนาคริสต์
หลักธรรมในคัมภีร์เต้าเด็กเก่ง แสดงถึงเต๋ามีลักษณะเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่ทำให้สิ่งทั้ง
หลายเกิดขึ้นเคลื่อนไหว และควบคุมสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นให้เป็นไปตามธรรมชาติ นอกจากนี้
ยังบรรจุหลักธรรมที่สอนให้คนมีคุณธรรม ไม่ควรทะเยอทะยาน ไม่โอ้อวด ไม่แข่งดีแย่งความ
เป็นใหญ่กัน ให้มีความสันโดษ เป็นต้น สรุปแล้วก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเต่า คุณธรรม และจริยธรรม
ศาสนาเต๋า DOU 203