ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.7.4 พิธีเกี่ยวกับเด็กเกิดใหม่ เมื่อมีทารกเกิดใหม่ อายุได้ 7 วัน ก็จะมีการอุ้มไปตั้งชื่อ
ต่อหน้าแท่นบูชา ทำพิธีรับขวัญเด็ก และเมื่อเด็กอายุได้ 31 หรือ 32 วัน ก็จะอุ้มเด็กไปไหว้
ศาลเจ้านอกบ้านตามวัดบ้าง ตามภูเขาบ้าง ตามประเพณีแล้ว ไม่ว่าเกิดหรือตาย จะนิมนต์นัก
พรตมาทำพิธี หากไม่มีหรือหานักพรตไม่ได้หัวหน้าครอบครัวจะเป็นผู้ประกอบพิธีเอง
9.7.5 พิธีเนื่องในวันนักขัตฤกษ์ เมื่อวันนักขัตฤกษ์มาถึง ชาวญี่ปุ่นจะจัดให้มีขบวนแห่
มีการบรรเลงดนตรีและเต้นรำ นักพรตมีหน้าที่ทำพิธีอ่านบทสวดเบื้องหน้าแท่นบูชาที่ศาลเจ้า
เพื่ออำนวยสวัสดิมงคล ให้เก็บเกี่ยวได้ผลดี ให้บ้านเรือนมีความสุข ให้มีผลสำเร็จในการออก
รบทัพจับศึก ให้การปกครองเป็นไปด้วยดีและให้องค์จักรพรรดิทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติยัง
ยืนนาน
9.7.6 พิธีโอโฮฮาราชิ (The Great Purification) เป็นพิธีชำระครั้งยิ่งใหญ่ มีคำอธิบาย
ของนักปราชญ์ชื่ออัสตัน (Aston) ว่า โดยพระมหากรุณาธิคุณขององค์จักรพรรดิผู้ได้รับมอบ
หมายอำนาจมาจากเทพเจ้าอะมะเตระสุโอมิคมิให้ประกอบพิธีนี้ด้วยการประพรม การชำระล้าง)
ด้วยน้ำบริสุทธิ์เป็นเบื้องต้นแล้วเซ่นสรวงสังเวยอันเป็นไปเพื่อการทดแทน (บาป) บรรดามุข
มนตรีและพลเมืองของพระองค์ผู้กระทำพิธีนี้ ต้องทำความบริสุทธิ์ให้เกิดแก่ตนเองเพื่อปลด
บาปออกไปให้พ้นจากคน
9.8 นิกายในศาสนา
นิกายของศาสนาชินโตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
9. 8.1 ก๊กกะชินโต ได้แก่ ชินโตแห่งรัฐ กระทรวงมหาดไทยให้ความสนับสนุนและได้
วางข้อบังคับให้นักบวชปฏิบัติกิจเฉพาะทางราชการเท่านั้น และห้ามทำพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
ว่า การโฆษณา พิธีแต่งงาน พิธีฝังศพ อนึ่ง ก็กกะชินโตตั้งอยู่บนอุดมคติว่าความเจริญของชาติ
ความปลอดภัยแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิ และความผาสุกของประชาชนเป็นพรที่ได้รับ
ก๊กกะชินโตได้กำหนดแบบฉบับแห่งศรัทธาและพิธีกรรมตามพระบรมราชโองการ
ประกาศในปีที่ 15 แห่งศักราชเมธีไว้ 3 อย่าง ดังต่อไปนี้
1. การบูชาจักรพรรดิ ได้แก่ ชินโตอันเป็นโครงสร้างของชาติ ที่มั่นคงทำให้ชาติญี่ปุ่น
เป็นครอบครัวสืบสายมาจากสวรรค์สายเดียวเป็นลำดับมา
สมเด็จพระจักรพรรดิคืออวตารของสุริยาเทพพระองค์เป็นศูนย์กลางระหว่างพระอาทิตย์กับ
254 DOU ศาสนศึกษา