ข้อความต้นฉบับในหน้า
กับความทุกข์ทรมานหรือปัญหาอุปสรรคเท่าใดก็ตาม ไม่เคยทิ้งปฏิญาณหรือเผลอตัวพูดเลย
ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ในระหว่างนั้น เช่น
คราวหนึ่งระหว่างที่ท่องเที่ยวไป พระมหาวีระมาถึงทุ่งหญ้าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่งมี
คนเลี้ยงแกะกำลังเฝ้าฝูงแกะอยู่ เขากล่าวแก่พระมหาวีระว่า “ถ้าท่านเฝ้าฝูงแกะให้เรา เราจะ
เข้าไปหมู่บ้านเอาอาหารมา และจะแบ่งปันให้ท่านบ้าง”
พระมหาวีระน้อมศีรษะรับคำ คนเลี้ยงแกะก็จากไป
มิช้ามินานสุนัขป่าตัวหนึ่งออกมาจากป่า และคว้าเอาแกะไปด้วยตัวหนึ่งจึงหนีไป
เมื่อคนเลี้ยงแกะกลับมาเห็นแกะขาดหายไปตัวหนึ่ง จึงสอบถามพระมหาวีระ แต่ท่านนิ่งเฉย
ตามปฏิญาณว่าจะไม่พูด คนเลี้ยงแกะโกรธ เพราะพระมหาวีระไม่กล่าวอธิบายว่าแกะหายไปไหน
นึกว่าท่านเป็นโจรจึงเอาไม้พลองตีศีรษะพระมหาวีระ
พระมหาวีระไม่ยอมพูดอธิบายเพราะถือปฏิญาณอยู่ อนึ่งพระมหาวีระก็แข็งแรงกว่า
คนเลี้ยงแกะ ถ้าใช้กำลังต่อสู้ก็ย่อมป้องกันตัวได้ แต่พระมหาวีระได้ถือปฏิญาณอีกข้อหนึ่งว่าจะ
ไม่ป้องกันตัวจากทุกข์ภัยประการใด ๆ
คนเลี้ยงแกะระดมตีพระมหาวีระจนโลหิตไหลอาบตัว ครั้นแล้วก็หยุดชะงัก และจ้อง
มองพระมหาวีระด้วยความหวั่นเกรง พูดเสียงสั่นว่า “ท่านผู้นี้เป็นคนแรกที่เราพบเห็นมาว่าไม่
ต่อสู้ป้องกันตัวหรือวิ่งหนี ท่านเป็นฤาษีหรือเปล่า”
พระมหาวีระไม่ตอบ แต่ลุกเดินหลีกไป คนเลี้ยงแกะวิ่งตามมาขออภัยโทษ พระ
มหาวีระก้มศีรษะพยักให้แสดงว่ายกโทษให้แล้ว และเดินทางต่อไป
คนเลี้ยงแกะมองตามพระมหาวีระจนลับสายตา รำพึงกับตนเองว่า นักบวชผู้นี้สอน
บทเรียนแก่เราว่า ความนิ่งมีอำนาจเหนือคำพูด
พระมหาวีระก็คิดว่า เรื่องนี้สอนเราว่า ความอ่อนน้อมดีกว่าความทะนงตัว สันติมี
อำนาจเหนือความโกรธ
4.2.5 ประกาศศาสนา
เมื่อถือปฏิญาณครบ 12 ปี พระมหาวีระก็ทรงคิดและมั่นพระทัยว่าพระองค์ทรงพบ
คำตอบต่อปัญหาชีวิตครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จออกไปเพื่อเผยแพร่ความคิดคำสอนใหม่ของพระองค์
ซึ่งได้ตรึกตรองค้นพบได้ในระหว่างปฏิญาณแห่งความเป็นผู้นิ่ง ทุกแห่งที่เสด็จผ่านไปก็เทศนา
สั่งสอน เสด็จไปสั่งสอนยังที่ต่าง ๆ เรื่อยไป โดยมิได้เสด็จกลับนครเวสาลีอีก คนทั้งหลายผู้มา
102 DOU ศาสนศึกษา