ศาสนาชินโตในญี่ปุ่น DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 257
หน้าที่ 257 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาชินโตในญี่ปุ่นมีความหมายกว้างรวมถึงเทพเจ้า สิ่งบริสุทธิ์ และธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ และสัตว์ อะมะเตระสุเป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นเพศหญิง ในประวัติศาสตร์ถูกแบ่งออกเป็น 5 สมัย โดยมีอิทธิพลจากศาสนาอื่น ๆ เช่น พุทธศาสนา ในแต่ละช่วงอาจกล่าวได้ว่าศาสนาชินโตมีความสำคัญมากที่สุดในประเทศไทย สมัยแรกนั้นบริสุทธิ์ ในขณะที่ในสมัยที่สามเริ่มมีการผสมผสานความเชื่อ การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อพิธีกรรมและการนับถือ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของศาสนาชินโต
-เทพเจ้าในศาสนาชินโต
-ประวัติศาสตร์และยุคของศาสนาชินโต
-อิทธิพลของศาสนาอื่น
-พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาชินโต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มีความหมายกว้างเพราะนอกจากจะหมายถึงเทพเจ้าแล้วยังหมายถึงสิ่งที่บริสุทธิ์ ทรงพลัง ทรง อำนาจและน่าเกรงขามเป็นต้นอีกด้วย ดังนั้นภูเขา แม่น้ำ ทะเล ทุ่งนา ป่าไม้และสัตว์ เป็นต้น ก็อาจเป็นกามิได้ ด้วยคำนึงถึงเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในสิ่งนั้น ๆ ดังนั้นประเทศญี่ปุ่นจึงได้นามอีก อย่างหนึ่งว่าดินแดนแห่งเทพเจ้าส่วนเทพเจ้าที่ชาวญี่ปุ่นนับถือว่าเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งหลายก็คือ อะมะเตระสุ โอมิ คามิ (Amaterasu-omi-kami) หรือพระอาทิตย์ซึ่งเป็นเพศหญิง ส่วนสวามี ของพระนางก็คือ สึกิโยมี (Tsukiyomi) หรือพระจันทร์ เทพเจ้าของศาสนาชินโตจะมีลักษณะ อย่างมนุษย์คือนอกจากจะมีรูปร่างเหมือนมนุษย์แล้ว ก็ยังมีกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ศาสนาชินโตอาจแบ่งเป็น 5 สมัย ดังนี้ สมัยที่ 1 ระยะเวลาประมาณ 1,200 ปี เริ่มตั้งแต่ 117 ก่อน พ.ศ. จนถึง พ.ศ. 1095 เป็นสมัยแห่งศาสนาชินโตบริสุทธิ์แท้ เพราะยังไม่ถูกอิทธิพลจากศาสนาอื่นครอบงำ สมัยนี้ถือ เอาตั้งแต่จิมมูเทนโน ซึ่งเป็น มิกาโด หรือจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น เรื่อยมาจนถึงพระพุทธ ศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ศาสนาชินโตสมัยนี้มีอิทธิพลต่อชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง เพียงศาสนาเดียว สมัยที่ 2 ระยะเวลาประมาณ 250 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1095 ถึง พ.ศ. 1343 เป็นสมัยที่ ศาสนาพุทธและศาสนาขงจื้อ เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลมากในช่วง 150 ปีแรกในคัมภีร์นิฮอน ได้กล่าวยกย่องพระพุทธศาสนาไว้ประมาณ 50 แห่ง เช่นในปี พ.ศ. 1188 พระเจ้าจักรพรรดิโกโตกุ ทรงยกย่องพระพุทธศาสนาและทรงดูหมิ่นทางแห่งเทพเจ้า และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่าในปี พ.ศ. 1214 มกุฎราชกุมาร (โชโตกุไทชิ) ได้ทรงสละโลกออก ผนวชเป็นต้น แต่ถึงอย่างไรสมัยนี้ศาสนาชินโตก็ยังมีอิทธิพลมากกว่าศาสนาอื่น สมัยที่ 3 ระยะประมาณ 900 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1343 ถึง พ.ศ. 2243 เป็นสมัยที่ศาสนา ชินโตผสมกลมกลืนกับศาสนาอื่น ทำให้ศาสนาชินโตลดความสำคัญลงมาจนนักศาสนาบาง ท่านกล่าวว่า ศาสนาชินโต ศาสนาพุทธ และศาสนาขงจื้ออาจรวมเป็นศาสนาอันเดียวกันก็ได้ และมีภิกษุบางรูปกล่าวว่า เทพเจ้าของศาสนาชินโตก็คือปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า ศาสนา ชินโตจึงลดความสำคัญลงตามลำดับจนกระทั่งระหว่าง พ.ศ. 2008 ถึง พ.ศ. 2230 ไม่มีการ ประกอบพิธีโอโฮนิเฮ หรือพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบศาสนาชินโต ซึ่งถือกันว่าเป็นพิธีกรรม สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมของศาสนาชินโต ตลอด 8 รัชกาล Hume Robert E. The World's Living Religions, 1957 p.170-173. 242 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More