ข้อความต้นฉบับในหน้า
6.5 หลักความเชื่อ และจุดหมายสูงสุด
ชาวซิกข์เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว เป็นพระเจ้าของมนุษย์ชาติทั้งปวง ไม่ผูกขาดอยู่ใน
ศาสนาใด พระองค์มีพระนามหลายอย่าง เช่น พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ เอกะ โองการะ
สัตยะ นามะ กรตา เป็นต้น พระองค์ทรงเป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง ทรงมีแต่ความเมตตา
กรุณา ทรงเป็นสัพพัญญู สัพพเดช สัพพาภิภู ทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง ในการสร้างโลก
พระเจ้าจะทรงสร้างหมอกและแก๊สขึ้นก่อน แล้วทั้งสองอย่างก็หมุนเวียนเป็นล้านโกฏิปีจึงมีธรณี
ดวงดาว น้ำ อากาศและอื่นๆ เกิดขึ้นมา แล้วจึงมีชีวิตอุบัติขึ้นมาจำนวน 8,400,000 ชนิด แต่
มนุษย์มีฐานะสูงสุดกว่าชีวิตทั้งหลายเพราะว่าสามารถปฏิบัติธรรมชำระจิตใจให้สะอาดจากกิเลส
หลุดพ้นจากสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด ชาวซิกข์เชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะจึงไม่ตายอย่าง
ร่างกาย แต่ก็ยังคงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏเพราะมีกิเลส และตราบที่ยังมีกิเลสก็ต้อง
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย ถ้าไม่อยากตายก็ต้องทำให้ไม่เกิด นั่นก็คือ
ต้องตัดกิเลสให้ได้เพราะฉะนั้นผู้ที่เบื่อหน่ายในสังสารวัฏก็ควรที่จะละกิเลสให้หมดไปตามลำดับ
จนละได้ทั้งหมดก็จะเข้าถึงจุดหมายสูงสุด ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ได้อยู่กับพระเจ้า
ชั่วนิรันดร ส่วนวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงวิมุติ ก็โดยการทำสมาธิเพ่งพระเจ้าเป็นอารมณ์ และ
บริกรรมถึงพระนามของพระองค์ตลอดถึงจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วย
6.6 นักบวชในศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวชหรือพระแม้นว่าจะมีวัดก็ตาม ท่านคุรุอมรทาสได้
ประกาศให้มีวัดซิกข์ทุกหมู่บ้านที่มีศาสนิกชนของซิกข์ และได้กำหนดเขตการเผยแพร่ศาสนา
ซิกข์ในอินเดียออกเป็น 22 เขต แต่ละเขตมีซิกข์ผู้มีศรัทธาในศาสนาอย่างแท้จริงหนึ่งคนเป็น
ผู้รับผิดชอบในเขตนั้นๆ
ผู้ทำหน้าที่สอนศาสนาซิกข์ไม่มีเครื่องแบบ แม้นักบุญผู้หลุดพ้นก็มิได้ถือกฎแห่งพรหม
จรรย์ในวัดซิกข์ ใครก็สามารถทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ ผู้คงแก่เรียนในคัมภีร์
ก็เป็นผู้อ่านคัมภีร์เท่านั้น ส่วนผู้ร้องเพลงสวดก็มิได้ถือว่าเป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติกิจทางศาสนา
เรียกว่าผู้ทำงานซึ่งทำด้วยความสมัครใจ ผู้หญิงในศาสนาซิกข์จึงทำงานทางศาสนาได้เท่า
เทียมผู้ชาย และอาจมีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาได้ทุกอย่าง เช่น พิธีปฏิญาณตนเป็นซิกข์
พิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้น สำหรับการอ่านคัมภีร์ทางศาสนาถือว่าเป็นหน้าที่ปกติของทุกคน
เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, 2516 หน้า 194-195.
ศ า ส น า ชิ ก ข์ DOU 187