ความหมายและสถานะของนิพพานในพระพุทธศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 175
หน้าที่ 175 / 481

สรุปเนื้อหา

พระพุทธพจน์ชี้ให้เห็นถึงภาวะนิพพาน ว่าเป็นภาวะที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่มีในโลก ไม่มีการเกิด หรือตายเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตและวัตถุอื่นๆ นิพพานเป็นภาวะที่ปราศจากการเคลื่อนไหว ไม่มีการกระทำหรือผลของกรรม ทั้งนี้ การเข้าถึงนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ผ่านการปฏิบัติอย่างมีสติเพื่อลดละกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการเวียนว่ายในสังสารวัฏ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเกิดและตายไปตามกรรมที่ทำไว้ โดยเมื่อสิ้นกิเลสก็จะเข้าสู่นิพพาน ซึ่งจะไม่มีทุกข์กายและทุกข์ใจอีกต่อไป นิพพานคือจุดหมายสูงสุดที่เหนือโลกและไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน แต่ยังมีอยู่จริง

หัวข้อประเด็น

-นิพพานและความหมาย
-การปราศจากอารมณ์
-การเวียนว่ายตายเกิด
-จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
-การลดละกิเลสเพื่อการหลุดพ้น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระพุทธพจน์ทั้งหมดที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ภาวะที่เรียก ว่านิพพานนั้นมีอยู่จริง แต่เป็นภาวะที่ไม่มีอะไรอย่างที่โลกมี กล่าวอีกนัยหนึ่งอะไรก็ตามที่มีอยู่ หรือปรากฏอยู่ในโลก สิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่เลยในภาวะที่เรียกว่านิพพานไม่มีทั้งดวงอาทิตย์และ ดวงจันทร์ ไม่ใช่ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ตามปกติเวลาเราคิดถึงสิ่งที่มีอยู่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราจะ คิดถึงสิ่งนั้นในลักษณะที่มันเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หรือเคลื่อนไหวมาจาก ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ภาวะที่เรียกว่านิพพานนั้นไม่ใช่ทั้งการมา ไม่ใช่ทั้งการไป และไม่ใช่ ทั้งการหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่ใช่ทั้งการแตกดับ (จุติ) ไม่ใช่ทั้งการเกิด (อุบัติ) เป็นภาวะที่หาที่ตั้ง ไม่ได้ จึงมิอาจกล่าวได้ว่ามันมีอยู่ ณ ที่ใด ทั้งเป็นภาวะที่ปราศจากอารมณ์ด้วยประการทั้งปวง ภาวะดังกล่าวนี้เองที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ข้อความในลำดับต่อมาแสดงให้เห็นว่า ภาวะที่เรียกนิพพานนั้น เป็นภาวะที่ไม่มี การเกิดขึ้น และไม่มีการเป็นไป ปราศจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย (อสังขตะ) พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงยืนยันว่าภาวะเช่นที่กล่าวนี้มีอยู่จริง เพราะถ้าภาวะนี้ไม่มีอยู่แล้ว การที่จะ ปฏิบัติตนให้หลุดพ้น (สลัดออก) ไปจากสภาวะที่มีการเกิดขึ้น มีการกระทำและปรุงแต่งของ เหตุปัจจัย (สังขตะ) ก็จะเป็นไปไม่ได้เลย แต่เพราะภาวะที่พ้นจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัยมี อยู่ การปฏิบัติตนจนเข้าถึงความหลุดพ้นจากสังสารวัฏอันเป็นสภาวะที่เป็นไปตามการปรุงแต่ง ของเหตุปัจจัยจึงเป็นสิ่งเป็นไปได้ 5.5 หลักความเชื่อ และจุดมุ่งหมายสูงสุด ศาสนาพุทธเชื่อว่า ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่หมดกิเลส วิญญาณก็จะเวียนว่ายตายเกิดร่ำไป คนอาจเกิดเป็นสัตว์ สัตว์อาจเกิดเป็นคนก็ได้ ทั้งนี้ก็เป็นไปตามอำนาจกรรมที่ได้กระทำไว้ นอกจากนี้ก็อาจไปเกิดในทุคติภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน หรือไปเกิดในสุคติ ภูมิมีมนุษย์ เทวดา พรหม ก็ได้ การที่ไปเกิดในภูมิต่าง ๆ ก็เพราะมนุษย์ตลอดทั้งสัตว์ทั้งหลาย มีกิเลส เมื่อมีกิเลสจึงเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมจึงได้รับวิบากกรรมหรือผลของกรรม แล้ว ก็เกิดกิเลสอีกวนเวียนอยู่อย่างนี้ ดุจเดินรอบวงเวียนไม่ไปถึงไหนแต่ก็เดินไปไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่า สิ้นกิเลส จึงจะเข้าสู่นิพพานไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป นิพพานจึงเป็นจุดหมายสูงสุดใน พระพุทธศาสนา เมื่อใครเข้าถึงแล้วก็ไม่ต้องเกิดแก่เจ็บตาย หยุดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ไม่มี ทุกข์กายทุกข์ใจอีกต่อไป นิพพานเป็นโลกุตรภูมิอยู่เหนือสมมุติ อยู่เหนือกระแสโลก ไม่อาจ พรรณนาได้ แต่ก็เป็นสภาวะที่มีอยู่ ไม่ได้สูญสิ้น 160 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More