ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.6 พิธีกรรมที่สำคัญ
พิธีกรรมในพุทธศาสนา เป็นองค์ประกอบหนึ่งของศาสนา เป็นกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่าง
ผู้ปฏิบัติกับความจริงหรือธรรมในศาสนา พิธีกรรมนอกจากจะเป็นเรื่องความผูกพันระหว่าง
ศาสนิกชนกับศาสนธรรมแล้ว ยังเป็นการแสดงออกซึ่งความหมายในศาสนาด้วย
พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
5.6.1 เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับวินัยสงฆ์โดยเฉพาะ และดำเนินการทำพิธีโดยเฉพาะ
พระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสไม่ได้ร่วมด้วย พิธีนี้เรียกว่า “สังฆกรรม” ฆราวาสจะมีส่วนร่วมใน
ส่วนอื่นที่ไม่ใช่สังฆกรรม เช่น พิธีบรรพชาอุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีออกพรรษา พิธีสวด
ปาฏิโมกข์
5.6.2 พิธีทำบุญในงานมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้เกิด
ความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีการตั้งบาตรน้ำมนต์ด้วย เช่น พิธีทำบุญงานมงคลสมรส พิธี
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พิธีทำบุญวันเกิด พิธีทำบุญถวายสังฆทาน พิธีทำบุญทอดกฐินผ้าป่า พิธี
ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
5.6.3 พิธีทำบุญงานอวมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่ออุทิศส่วน
กุศลแก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อขจัดเสนียดจัญไร เช่น
1) การทำบุญเกี่ยวกับศพ เช่น การสวดอภิธรรม การฌาปนกิจศพ การบรรจุศพ
การทำบุญ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน เป็นต้น
2) การทำบุญขจัดเสนียดจัญไร เมื่อเกิดเหตุที่คนโบราณถือว่า ไม่เป็นมงคลใน
ครอบครัว เช่น แร้งจับบ้าน หรือรุ้งกินน้ำในบ้าน เป็นต้น
5.6.4. พิธีบูชาในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นพิธีที่ชาวพุทธต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น
พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา
พิธีกรรมข้อ 1 2 และ 3 เป็นพิธีกรรมที่ชาวพุทธในประเทศไทยปฏิบัติกัน ส่วนชาว
พุทธในประเทศอื่นอาจจะปฏิบัติแตกต่างกันไป เพราะพิธีกรรมนี้เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่น
ซึ่งยากที่จะแยกออกจากกัน
ศ า ส น า พุทธ
DOU 161