ความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 45
หน้าที่ 45 / 481

สรุปเนื้อหา

การบวงสรวงและสังเวยในศาสนาดั้งเดิมเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ซึ่งมีการถวายอาหารรวมทั้งสัตว์ตามความเชื่อของแต่ละเผ่าพันธ์ การบวงสรวงอาจใช้วิธีหลากหลายแต่มีจุดประสงค์เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นพอใจและดลบันดาลความสำเร็จ โดยมีการใช้บัตรพลีกรรมหรือบัตรพลีที่มีลักษณะเฉพาะในการเซ่นไหว้ เช่น บัตรเทวดาที่ทำจากกาบกล้วย ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อที่ลึกซึ้งในวัฒนธรรมไทย การแพ้ในสงครามอาจนำไปสู่การสังเวยมนุษย์ในบางกรณี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหมายและความสำคัญในพิธีกรรมเหล่านี้ในอดีต.

หัวข้อประเด็น

-บวงสรวง
-สังเวย
-พิธีกรรม
-ความเชื่อในศาสนา
-วัฒนธรรมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา อันเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของศาสนาดั้งเดิมที่นิยมกระทำกัน ซึ่งแล้วแต่โอกาสหรือเงื่อนไขบางประการที่ทำให้ต้องกระทำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับควมเชื่อของคน แต่ละเผ่าพันธ์ สิ่งที่นิยมนำมาบวงสรวงและสังเวยส่วนมากเป็นพวกสัตว์ เช่น วัว แพะ แกะ ไก่ เป็ด นก และปลา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะถูกปรุงแต่งเป็นอาหารอย่างดี แล้วแต่การจินตนาการ ของแต่ละบุคคลที่จะทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้พอใจมากที่สุด หมู นอกจากนี้อาจจะถวายอาหารประเภท ข้าว นม เนย น้ำ ผลไม้ เครื่องประดับ และอาวุธ เป็นต้น ในบางแห่งถ้ามีการทำสงครามกัน ฝ่ายที่แพ้ถูกจับเป็นเชลยอาจจะถูกนำมาสังเวย เทพเจ้าของพวกที่ชนะ การนำมนุษย์มาสังเวยเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในยุคดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกที่รักมากที่สุด หรือคนหนุ่มคนสาว นิยมถูกเลือกให้เป็นเครื่องสังเวยบน แท่นพิธี ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าอาจจะทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พอใจและดลบันดาลให้เกิดความสำเร็จ สมความปรารถนา วิธีการบวงสรวงและสังเวยกระทำได้หลายแบบ ถ้าเป็นพวกของเหลวประเภท น้ำ นม และ เหล้า จะใช้วิธีเทลงพื้นดินจนชุ่มและสมมติว่าพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้รับการเซ่นไหว้แล้ว แต่ถ้าเป็นพวกอาหาร เช่น ข้าว ขนม ผลไม้ และเนื้อสัตว์ อาจจะใช้วิธีจัดวางในภาชนะไปตั้งวาง ณ ที่ใดที่หนึ่ง บางครั้งอาจจะใช้เนื้อสัตว์หรือพวกเมล็ดพืชต่าง ๆ มาเผา และสมมติกันว่าสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์นั้นได้สูดเอาควันของอาหารนั้นแทนการกินทางปาก เมื่อบวงสรวงและสังเวยจน เรียบร้อยแล้วอาหารที่เหลือจึงจะนำมาแบ่งกินกันในกลุ่มของตนเพื่อแสดงถึงสายใยผูกพัน ระหว่างสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาตินั้นกับคนไหว้ นอกจากการบวงสรวงและสังเวยแล้ว มีพิธีกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏใน หลายแห่งของเมืองไทย เรียกว่า “บัตรพลีกรรม” หรือ “บัตรพลี” คำว่า “บัตร” คือ “ใบ” หมายถึง “ใบไม้” เช่น ใบตองที่นำมาเย็บเป็นกระทงใส่อาหาร “พลี” คือการ “เซ่นไหว้” รวมความแล้วคำว่า “บัตรพลี” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า “เครื่องเซ่นสรวงสังเวย” ในที่นี้ได้จำแนกบัตรพลีออกเป็น 4 อย่าง ตามลักษณะที่มีอยู่ทั่วไปใน ประเทศไทย 1) บัตรเทวดา เครื่องเซ่นสรวงนิยมทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระโจมมีพื้น 3 ชั้น สำหรับ ใส่เครื่องเซ่นถวายเทวดา ในประเทศอียิปต์โบราณปรากฏว่ามีการถวายเครื่องเซ่นเทวดาด้วย วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายๆ กันนี้ เราจะพบได้จากภาพเขียนในสุสานของฟาโรห์บางองค์ 1 ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2543 หน้า 616. 30 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More