ข้อความต้นฉบับในหน้า
ซึ่งแต่ก่อนเพราะปรัชญาในพระเวทเชื่อพระเจ้าหลายองค์และเน้นยัญพิธี บวงสรวงด้วยการนำ
สัตว์มาสังหารพร้อมเครื่องสังเวยอื่น ๆ ส่วนปรัชญาในอุปนิษัทโน้มเอียงมาทางเอกนิยม (Monism)
ซึ่งเชื่อในหลักความจริงอันสูงสุดว่ามีเพียงหนึ่งเดียวคือ พรหมัน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของจักรวาลและ
สรรพสิ่งทั้งหลาย หน้าที่ของมนุษย์ก็คือการศึกษาและปฏิบัติให้เข้าถึงเอกภาวะนี้จึงจะเรียกว่า
ได้บรรลุถึงโมกษะ อุปนิษัทนี้อาจนับได้ว่าเป็นรากฐานของปรัชญาในภควัทคีตา
นักบวชพราหมณ์ที่ประสงค์บำเพ็ญพรตเป็นดาบสต้องศึกษาคัมภีร์อรัณยกะ ส่วนผู้ที่จะ
เป็นปริพาชก หรือสันยาสี ต้องศึกษาคัมภีร์อุปนิษัท (เวทานตะ) ซึ่งถือกันว่าเป็นศรุติหรือ
คำบอกเล่าจากพระเจ้าโดยตรง และจะเปิดเผยแก่บุคคลในวรรณะอื่นไม่ได้เด็ดขาด ผู้ใดฝ่าฝืน
ถือเป็นบาปอย่างมหันต์
นอกจากคัมภีร์ที่เป็นศรุติแล้ว ก็ยังมีคัมภีร์ที่ไม่ใช่ศ
ก็ยังมีคัมภีร์ที่ไม่ใช่ศรุติซึ่งเกิดขึ้นในสมัยนี้อีกมากมาย
หลายเล่ม เรียกว่า สมฤติ คือใช้สำหรับระลึกทรงจำสืบเป็นหลักการย่อๆ และในตอนปลายยุคนี้
ได้เกิดร้อยกรองที่ชื่อ “รามายณะ” ซึ่งแต่งโดยฤาษีวาลมิก มีทั้งหมด 5 กัณฑ์ พระรามซึ่งเป็น
ตัวเอกของเรื่องในสมัยนี้เป็นเพียงวีรบุรุษคนสำคัญเท่านั้น ยังไม่ใช่พระวิษณุอวตาร ซึ่งเข้าใจ
กันว่าอาจจะนำมาดัดแปลงเพิ่มเติมกันเองในภายหลัง
3.1.6 สมัยพระสูตร (สุตตะ)
เป็นระยะเวลาที่พวกอารยันขยายลงไปทางใต้ของอินเดีย พร้อมกับนำความเชื่อแบบฮินดู
ไปเผยแพร่ด้วย ยุคนี้มีพุทธศาสนาเป็นคู่แข่งสำคัญ เพราะเป็นสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรง
ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของศาสนาฮินดูในยุคนี้ ได้แก่
กระแสที่ 1 ศาสนาฮินดูแผ่ขยายตลอดทั่วภาคใต้ของอินเดีย พวกพราหมณ์จึงได้รับการ
ยอมรับนับถือเช่นเดียวกับทางภาคเหนือ
กระแสที่ 2 วรรณกรรมเรื่องภารตะ ได้มีการแต่งต่อเติมจนกลายเป็น “มหาภารตะ” และ
ได้รับความนิยม
กระแสที่ 3 พราหมณาจารย์ได้ทำตำราเรียนสำหรับกุลบุตรพราหมณ์ เพื่อใช้ศึกษาใน
โรงเรียน ตำราดังกล่าวได้ถูกผูกเป็นอรรถ ประมวลใจความให้สั้นที่สุดเพื่อทรงจำได้เร็ว ตัว
อรรถนี้เรียกว่า สูตร ซึ่งถูกผูกขึ้นมาเป็นหัวข้อประมวลศิลปวิทยาทุกประเภท แบ่งเป็น 6 ประเภท
รวมเรียกว่า เวทางค์ หรือองค์แห่งเวท ได้แก่
ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู
DOU 57