ความสำคัญของพระธรรมและพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 163
หน้าที่ 163 / 481

สรุปเนื้อหา

พระธรรมในพระพุทธศาสนาช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามกลายเป็นพระอริยบุคคล โดยมี 4 ระดับ ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก โดยพระธรรมทั้งหมดรวมลงเป็นธรรม 3 อย่าง คือ ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรม พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมที่ถูกต้องถือเป็นผู้มีคุณลักษณะ 9 ประการที่ควรเคารพนับถือ ซึ่งรวมถึงการมุ่งปฏิบัติชอบและเป็นธรรมต่อผู้อื่น และเป็นผู้สั่งสอนพระธรรมล้วนแต่จำเป็นเพื่อพัฒนาตนเอง สู่การหลุดพ้นจากทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของพระธรรม
-ลำดับพระอริยบุคคล
-พระไตรปิฎก
-คุณลักษณะของพระสงฆ์
-การปฏิบัติธรรมและผลของการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6. เป็นธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระธรรมทั้งปวงเป็นคุณชาติที่ทำให้ปุถุชนผู้ปฏิบัติตามกลายเป็นพระอริยบุคคล มี 4 ระดับ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ พระธรรมมีวิมุติเป็น แก่น และความพ้นทุกข์เป็นรส พระคัมภีร์รองรับพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว เรียกพระ ไตรปิฎก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือพระวินัยปิฎก ว่าด้วยระเบียบวินัย และศีล พระสุตตันตปิฎก ว่า ด้วยหลักธรรมที่ทรงแสดงแก่บุคคลต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เวลา และสถานที่ และ อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยองค์แห่งสภาวะธรรมล้วนๆ ไม่ปรารภบุคคล หรือสถานที่ พระธรรมทั้งปวงรวมลงเป็นธรรม 3 อย่าง คือปริยัติธรรม ได้แก่การศึกษาเล่า เรียนอันเป็นส่วนเบื้องต้น ปฏิบัติธรรม ได้แก่ความประพฤติตามธรรมที่ตนได้สดับมา และ ปฏิเวธธรรม คือผลของการปฏิบัติ ที่เรียกว่า อริยมรรค อริยผล มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี อรหัตตผลเป็นที่สุด 3. พระสงฆ์ พระสงฆ์ คือผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้อง ตรงกับพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง และบัญญัติไว้ เป็นสาวกของพระพุทธองค์ และเป็นพยานการตรัสรู้ธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตาม และได้สั่งสอนธรรมต่อมา จึงเป็นที่ควร เคารพนับถือ พระสงฆ์ทรงคุณลักษณะ 9 ประการ คือ 1. เป็นผู้ปฏิบัติดี มุ่งปฏิบัติชอบด้วยพระวินัย พัฒนาตนเองไปตามลำดับ ไม่เป็น ข้าศึกต่อผู้อื่น พยายามขัดเกลาจิตใจ และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนไปตามลำดับตาม ความสามารถของตน 2. เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือพยายามทำตนให้ตรงต่อคำสอนเหล่านั้น เป็นผู้ตรงต่อ ตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อภารกิจการงานพระศาสนา 3. เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม คือปฏิบัติมุ่งให้สงบกาย วาจา ใจ จนถึงหลุดพ้นจาก ความทุกข์ 1 หน้า 67. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 12. สังฆคุณ, 2539 148 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More