สมัยภักติในประวัติศาสตร์อินเดีย DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 81
หน้าที่ 81 / 481

สรุปเนื้อหา

ในสมัยภักติ ชาวมองโกลภายใต้การนำของพระเจ้าไทมูร์ได้โจมตีอินเดียและบังคับประชาชนในการนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ศาสนาฮินดูตกต่ำ แต่ก็ยังคงมีรากฐานที่มั่นคง พระเจ้าอักบาร์ทรงเปิดโอกาสให้มีการนับถือศาสนาอย่างเสรี ในขณะเดียวกันลัทธิภักติได้พัฒนาขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 นิกายที่เคารพเทพเจ้าที่แตกต่างกัน และมีผลกระทบต่อศาสนาและวัฒนธรรมของอินเดีย สมัยนี้ยังเผชิญการเข้าสู่ของยุโรปและการเผยแพร่คริสต์ศาสนาในภูมิภาคนี้ ที่สุดอินเดียสูญเสียเอกราชให้กับอังกฤษในสมัยของพระเจ้าโอรังเซป

หัวข้อประเด็น

-การโจมตีจากมองโกล
-ผลกระทบต่อศาสนาฮินดู
-การพัฒนาของลัทธิภักติ
-การเผยแพร่คริสต์ศาสนา
-การสูญเสียเอกราชของอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.1.10 สมัยภักติ เป็นสมัยที่พวกมองโกล ทายาทพระเจ้าเจงกิสข่านทรงพระนามว่า พระเจ้าไทมูร์ บุกเข้า โจมตีอินเดียได้เมืองเดลฮี และกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมาก ต่อจากนั้นก็ถูกรุกราน โดยพวกมุสลิมเผ่ามองโกลอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2065 ครั้งนี้วัดวาอารามและเทวสถาน ตลอด จนรูปเคารพต่าง ๆ ในอินเดียภาคเหนือถูกทำลายพินาศสิ้น หรือมิฉะนั้นก็ถูกดัดแปลงเป็นมัสยิด ประชาชนถูกบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีอย่างหนัก มีการห้ามบูชา รูปเคารพต่าง ๆ เพื่อมิให้พวกฮินดูฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พฤติการณ์ดังกล่าว ก็มีผลเพียงทำให้ศาสนาฮินดูตกต่ำลงเพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่ถึงกับเสื่อมสูญ ทั้งนี้ก็เพราะ ว่าศาสนาฮินดูได้วางรากฐานลงมั่นคงเสียแล้ว และในสมัยต่อมาพระเจ้าอักบาร์มหาราช กษัตริย์องค์สำคัญแห่งราชวงศ์โมกุล ยังทรงเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวอินเดียเลือกนับถือ ศาสนาได้โดยเสรีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สมัยที่ราชวงศ์โมกุลปกครองอินเดีย ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายลงไปถึงตอนใต้ เป็นผลให้ชาวอินเดียส่วนหนึ่งได้กลายเป็นมุสลิมไป และยังเป็นเหตุให้เกิดลัทธิศาสนาใหม่ ซึ่ง มีหลักธรรมของฮินดูและอิสลามผสมผสานกัน (คือศาสนาสุข) และมีผู้นิยมนับถือจำนวนไม่น้อย ประมาณ พ.ศ.2100 เป็นระยะเวลาที่ชาติต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกเข้าไปติดต่อทำการค้า กับอินเดีย (คือ โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ) พร้อมกับนำคริสต์ศาสนาเข้าไปเผย แพร่ในอินเดียด้วย และในที่สุดอินเดียก็สูญเสียเอกราชแก่อังกฤษในสมัยของพระเจ้าโอรังเซป กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลองค์สุดท้าย หลังจากที่ราชวงศ์นี้ได้ปกครองอินเดียได้ประมาณ 100 ปี ในสมัยดังกล่าวนี้เอง ลัทธิภักติซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยฟื้นฟูแล้วได้เจริญขึ้นในอินเดียภาค เหนือ ลัทธิภักติที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 นิกาย ตามความแตกต่างของเทพเจ้าสูงสุดที่นิยมนับถือ คือ นิกายที่ 1 นับถือพระราม มีผู้นำที่สำคัญ 3 คน คือ รามานน ซึ่งเป็นผู้ฟื้นฟูลัทธิตุลลิทาส ซึ่งเป็นผู้เผยแผ่ และนาภาทาส ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือ “ภักตมาลา” รวบรวมประวัติและผลงาน ของศาสดาจารย์ในลัทธิภักติ นิกายที่ 2 นับถือพระกฤษณะ มีหัวหน้าชื่อ วัลลภาจารย์ นิกายที่ 3 นับถือพระราม แต่ปฏิเสธเรื่องพระรามคืออวตารของพระวิษณุ การบูชา รูปเคารพและการแบ่งชั้นวรรณะ มีหัวหน้าซึ่งนับถือศาสนาอิสลามมาก่อนชื่อ กพีร์ คำสอนของ ท่านผู้นี้มีลักษณะกึ่งฮินดูกึ่งอิสลาม สานุศิษย์ส่วนใหญ่เป็นพวกวรรณะศูทร ซึ่งนับถือศาสนา 66 DOU ศ า ส น ศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More