ปรัชญาและความมั่นใจในสังคม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 245
หน้าที่ 245 / 481

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้พูดถึงความมั่นใจของประชาชนที่เกิดจากการมีอำนาจและวิธีการส่งเสริมการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการเรียนรู้ที่จะไม่เพียงแต่รับความรู้ แต่ต้องไตร่ตรองด้วย และสำคัญคือการใช้ความรู้ในทางที่ถูกต้อง ในเรื่องเศรษฐกิจกล่าวถึงการมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นทั้งในยามยากจนและมั่งมี การเอาชนะอุปสรรคและพัฒนาตนเองคือสิ่งสำคัญมากกว่าการมีทรัพย์สมบัติเพียงอย่างเดียว ความรู้และปัญญาคือพลังที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จในชีวิต คนที่เรียนรู้จริง ๆ จะสามารถหลีกเลี่ยงความชั่วได้

หัวข้อประเด็น

-ความมั่นใจในอำนาจ
-ปรัชญาการศึกษา
-การเรียนรู้และการคิด
-ปรัชญาเศรษฐกิจ
-การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในยามยาก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความมั่นใจของประชาชนได้ ผู้มีอำนาจแม้เอาไม้ทองหลางมาทำรั้ว คนอื่นก็กลัวเกรงและไม่กล้าล่วงล้ำ ถ้าให้คนอยู่ใน อำนาจต้องทำขึงขัง อย่าทำเหลาะแหละ บังคับการให้ถูก คนทั้งปวงจึงจะเกรงกลัว 3. ปรัชญาด้านการศึกษา เรียนแต่ไม่คิด ก็เป็นการเสียเปล่า คิดแต่ไม่เรียน ก็เป็นอันตราย คนที่มีความรู้มาก มีกิริยาวาจาสมกับความรู้ย่อมดูงาม เปรียบเหมือนเขียนรูปภาพ ระบายด้วยลายทอง แต่ถ้าทำไม่สมกับความรู้ก็เหมือนเขียนรูปภาพไม่มีสีระบาย เป็นนักปราชญ์แม้รู้มากจริงก็จริง แต่สิ่งใดที่รู้แล้วไม่ต้องถาม สิ่งใดที่ยังไม่รู้แม้มาตรว่านิด หน่อยก็ควรต้องถาม คำสั่งสอนที่ครูให้แก่ท่านนั้น เมื่อรู้จงบอกว่ารู้ เมื่อไม่รู้จงบอกว่าไม่รู้ ต้อง อย่าอวดรู้ต่อครู เล่าเรียนไปข้างหน้าจะรู้ง่าย เรียนหนังสือถ้าไม่หมั่นตรึกตรอง เรียนไปแต่ปากก็เหมือนหนึ่งไม่ได้เรียนแต่ถ้าเป็นคน เอาแต่คิดไม่ได้เรียนก็มักวนเวียนอยู่ด้วยความสงสัย อุตส่าห์เล่าเรียนไปเถิดสติปัญญาจะเกิด เพราะเรียน อาจคิดการงานทั้งปวงให้สำเร็จได้ ผู้เรียนรู้ได้จริงแล้วที่จะทำความชั่วนั้นมีน้อย เพราะผู้ไม่เรียนรู้จริงอาจทำความชั่วได้ด้วยความโง่เขลา เมื่อรักเรียนรู้ในหนังสือขนบธรรมเนียมทั้งปวงจึงอุตสาหะเรียนเสมอถ้าขยันหมั่นเพียรแล้ว ไฉนจะไม่รู้และเพียรเล่าเรียนมาแต่ถิ่นฐานบ้านไกลไฉนจะไม่สนุก หนังสือที่เล่าเรียนไว้แล้ว ควรหมั่นตรวจตราดูแลให้ชำนิชำนาญจะได้อธิบายกว้างขวางออกไปทุกๆ ครั้ง คนที่มีกำลังแต่ไม่มีปัญญา แม้จะขันสู้กับใคร ๆ ก็เหมือนเอามือเปล่าไปตีเสือหรือไม่มีเรือ ใบข้ามแม่น้ำ คนเราเมื่อแรกเกิดมานั้น ความคิดยังหยาบก่อน ต่อเมื่อได้เรียนรู้ดูคำสั่งสอนแล้ว จึงค่อย ดีขึ้นโดยลำดับเปรียบเหมือนไม้กระดานแรกเลื่อยใหม่และศิลาแรกต่อยออกมายังไม่เกลี้ยงก่อน ต้องไสกบและขัดสีจึงเกลี้ยงเกลาขึ้นได้ 4. ปรัชญาด้านเศรษฐกิจ เมื่อยากจน แต่รู้จักประมาณตนไม่เที่ยวประจบประแจง อุตส่าห์หาทรัพย์ไปตามสติกำลัง ของตน เมื่อมั่งมีก็ควรเอ็นดูคนทั้งปวง ตั้งจิตคิดอนุเคราะห์คนทุกถ้วนหน้า อนึ่งแม้เมื่อยากจน ก็ควรทำใจให้แช่มชื่น ไม่หดหู่ท้อแท้อ่อนแอ หาได้น้อยก็กินตามน้อย หาได้มากก็กินตามมาก เมื่อมั่งมีแล้วเร่งเรียนรู้ดูจารีตประเพณี 230 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More