ศาสนาขงจื้อและคำสอนเกี่ยวกับศีลธรรม DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 242
หน้าที่ 242 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาขงจื้อเน้นการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลและการประพฤติตามหลักศีลธรรมที่ดี ขงจื้อเชื่อว่าชีวิตมนุษย์มีแนวทางที่โหดร้าย หากไม่มีการศึกษาและความเมตตากรุณา คำสั่งสอนของเขาประกอบด้วยหลักสำคัญ 4 ข้อ และคำสอน 5 ประการ ที่เน้นความเชื่อมโยงในสังคมและการศึกษาที่ดีผลิตคนดีในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ขงจื้อ
-ศีลธรรม
-คุณธรรม
-ความเมตตากรุณา
-จรรยามารยาท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จิตต่อราษฎร อบรมสั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรม ผู้น้อยต้องเคารพและซื่อตรงต่อผู้ใหญ่ สามี ภรรยาต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ขงจื้อเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาบริสุทธิ์เหมือนน้ำซึ่งบริสุทธิ์เมื่อแรกเกิดแต่ ต้นน้ำ แต่ราศีที่จะแปดเปื้อนชีวิตย่อมมีทุกหนทุกแห่ง มนุษย์จึงหันเหไปสู่ความชั่วได้ง่าย เพราะปฏิบัติได้ง่ายกว่าความดี ดังนั้น ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจจึงควรทำตัวอย่างที่ดี เห็นอก เห็นใจผู้ใต้ปกครอง ผู้อยู่ใต้ปกครองต้องซื่อสัตย์ต่อผู้ปกครองบ้านเมืองจึงจะเป็นสุข คำสอนของขงจื้อ เป็นเรื่องการสอนให้ประพฤติตามระเบียบวินัยและจรรยามารยาทอันดี งามต่อกันมา ศาสนาขงจื้อสอนให้ปฏิบัติเหมือนกฎทองของคริสต์ศาสนา แต่ได้ใช้มาก่อน คริสต์ศาสนา คือ “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนดังที่เราต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา” เนื่องจาก คำสอนของขงจื้อที่ให้เคารพบรรพบุรุษจึงเกิดมีขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีต่าง ๆ ที่ชาวจีน ยึดเป็นหลักในชีวิตประจำวัน ในประวัติศาสตร์ไม่มีใครมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อความคิดและ ชีวิตของประชาชนชาวจีนเท่าขงจื้อ ศาสนาขงจื้อจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งสังคมและความ คิดของชาวจีนอย่างแยกไม่ออก หลักคำสอนของขงจื้อประกอบด้วยคำสอนมูลฐาน 4 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. เยน ความเมตตากรุณา 2. หยี ความยุติธรรม 3. หลี พิธีกรรม 4. ฉี สติปัญญา คำสั่งสอนของขงจื้อดำเนินตามหลักสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ศรัทธา ขงจื้อสอนคนให้มีความเชื่อว่า ถ้าคนมีความนับถือซึ่งกันและกันแล้วจะไม่มี อาชญากรรมและสังคมมนุษย์จะดำเนินไปอย่างผาสุก ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงควรศึกษาให้รู้แจ้งเห็น จริงในธรรมชาติและธรรมดาของมนุษย์ ให้เข้าถึงความดีและความสมบูรณ์อย่างไม่มีที่ติของ มวลมนุษย์ 2. ความเป็นผู้คงแก่เรียน การที่บุคคลจะเข้าใจซึ่งกันและกันต้องอาศัยการศึกษาเล่า เรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปลูกฝังให้แก่คนทุกคน ถ้าบุคคลได้รับการศึกษาดีแล้วมิใช่แต่จะ ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความราบรื่นเท่านั้นแต่จะได้เป็นแบบอย่างอันดีต่อคนทั้งปวงอีกด้วย Parulski, George. A Path to Oriental Wisdom, 1981 p.30-31. ศ า ส น า ข ง จื้อ DOU 227
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More