พระชนมายุ 80 ปีและการดับขันธปรินิพพาน DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 156
หน้าที่ 156 / 481

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาบรรยายถึงเหตุการณ์ในวันสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ทั้งที่เมืองกุสินารา โดยมีกล่าวถึงสาเหตุและการเตรียมงานเผาศพ พร้อมทั้งเสนอการแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุไปยังนครต่างๆ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่รวมพระพุทธวจนะเป็นหมวดหมู่เพื่อสืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า

หัวข้อประเด็น

-พระชนมายุ 80 ปี
-การดับขันธปรินิพพาน
-พระไตรปิฎก
-คัมภีร์ในศาสนาพุทธ
-ความสำคัญของพระพุทธวจนะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระชนมายุ 80 พรรษา ก่อนวันที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน 1 วัน ได้เสด็จไปแสดงธรรม โปรดนายจุนทะ และนายจุนทะได้ถวายภัตตาหารเช้าซึ่งมีอาหารที่ได้จัดเป็นพิเศษถวาย คือ สุกรมัทวะ หลังจากเสวยเสร็จแล้วในระหว่างทางเสด็จสู่เมืองกุสินาราในวันเพ็ญเดือน 6 นั้น ทรง ประชวรหนักด้วยพระโรคลงพระโลหิต จนมาถึงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีเข้าเขตเมืองกุสินารา พระ อาการประชวรหนักขึ้น จึงตรัสสั่งให้พระอานนท์จัดตั้งเตียงปูลาดผ้าสังฆาฏิ แล้วเสด็จประทับ บรรทมสีหไสยาส์นระหว่างต้นรัง (สาละ) ทั้งคู่ โดยหันพระเศียรไปเบื้องทิศอุดร แล้วก็เสด็จ ดับขันธปรินิพพาน ปัจฉิมโอวาท ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานมีใจความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาทเถิด” หลังจากปรินิพพานได้ 7 วัน ก็ได้จัดให้มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ห่างจากเมืองกุสินาราทางทิศตะวันออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร แล้วก็มี การแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำไปสักการบูชาแก่บรรดาเจ้าผู้ครองนครต่างๆ 9 นคร ด้วยกัน 5.3 คัมภีร์ในศาสนา คัมภีร์ของศาสนาพุทธ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก คำว่า “ไตรปิฎก” มาจากภาษาบาลีว่า ติปิฎก หรือ เตปิฎก ติ หรือ เต หรือ ไตร แปลว่า 3 ปิฎก แปลว่า กระจาดหรือตะกร้า ก็ต้อง ตีความว่าเป็นเสมือนกระจาดหรือตะกร้าสำหรับใส่หรือรวบรวมพระพุทธวจนะให้เป็นหมวด หมู่ไม่ให้กระจัดกระจายแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่สาวกรวบรวมจาก การที่ท่องจำสืบต่อกันมาแล้วได้มาประชุมสังคายนาร่วมกันและได้จารึกขึ้นในภายหลังเป็น ภาษาบาลี สันสกฤต จีน ทิเบต และไทย พระไตรปิฎก หรือปิฎกทั้ง 3 นั้น ได้แก่ 5.3.1 พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย คือ ศีลของภิกษุ ภิกษุณี มีเรื่องเล่าประวัติความเป็น มาที่ทรงบัญญัติวินัยอย่างละเอียด นอกนั้นยังมีเรื่องเกี่ยวกับข้อประพฤติปฏิบัติและวิธีดำเนิน การในการบริหารคณะสงฆ์โดยพิสดาร มี 21,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 3 หมวด หรือ 5 คัมภีร์ จัดพิมพ์อักษรไทย 8 เล่ม คือ หน้า 238. 2 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 10. มหาปรินิพพานสูตร, 2539 สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, 2528 หน้า 20-24 ศาสนา พุทธ DOU 141
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More