แตกต่างกันในวิธีการและพฤติกรรมของขงจื้อและเล่าจื้อ DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 217
หน้าที่ 217 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างขงจื้อและเล่าจื้อในการเผชิญปัญหาสังคม สะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อความสันติสุขและวิธีการที่แตกต่างกัน ขงจื้อมุ่งอยู่ในโลก ขณะที่เล่าจื้อแสวงหาความสงบและความเรียบง่าย ทั้งสองมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างความดีให้แก่สังคม ผ่านคัมภีร์เต้าเตกเกง ที่บันทึกปรัชญาแห่งชีวิตเพื่อประโยชน์กับคนรุ่นหลัง

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างของขงจื้อและเล่าจื้อ
-ปรัชญาเต๋า
-คุณธรรมสี่ประการ
-หลักการความเมตตากรุณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทั้งสองนี้แตกต่างกันอย่างแท้จริงในวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาโลกปัญหาสังคมด้วยวิธีการของตนเอง พูดง่าย ๆ ขงจื้อหนักไปในทางโลก ต้องการอยู่ในโลก ส่วนเล่าจื๊อสอนหนักไปในทางธรรม ต้องการ ออกนอกโลก แม้จะแตกต่างกันในวิธีการและพฤติกรรม แต่ก็มีเป้าหมายตรงกัน นั่นก็คือ ความ สันติสุขของปวงมนุษยชาติ โดยเฉพาะผืนแผ่นดินใหญ่จีน เล่าจื้อบำเพ็ญตนเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบความเรียบง่าย ชอบความสงบสงัด ความ ไม่วุ่นวาย พอใจความถ่อมตัว มุ่งรักษาความดี และช่วยทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยเมตตาจิต ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเล่าจื้อ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์เต้าเตกเกงว่า “หมู่ชนทั้งหลายเป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าเป็นคนชอบสงัด ชอบอยู่แต่ลำพัง จงติเตียน ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการความสุขเช่นหมู่ชนทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นคนโง่คนขลาด ข้าพเจ้าเป็นคนแตกต่างจากผู้มีความสุขทั้งหลาย ข้าพเจ้าจากคนทั้งหลายมาเพื่อแสวงหาเต๋า (สภาพอันเป็นไปตามธรรมชาติ)” “ชาวโลกทั้งปวงกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าหาได้เป็นดังคำกล่าวของคนทั้ง หลายไม่ แต่ข้าพเจ้ามีสมบัติอันเป็นแก้ว 3 ประการในตัวข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าพยายามให้เกิดมี ขึ้นในตนเสมอ และคนทั้งหลายควรดูแลและรักษาไว้ให้ดี สมบัติ 3 อย่างนั้น คือ ความเมตตา กรุณา ความกระเหม็ดกระแหม่ และความอ่อนน้อมถ่อมตน” “ถ้อยคำของข้าพเจ้าง่ายที่จะรู้ง่ายแก่การปฏิบัติ แต่ไม่มีใครสามารถรู้และปฏิบัติได้ เพราะว่าคนทั้งหลายไม่รู้จักธรรมชาติ และไม่รู้จักข้าพเจ้าด้วย” ลักษณะอันเป็นคุณธรรม 3 ประการ คือ ความเมตตากรุณา ความกระเหม็ดกระแหม่ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ถือว่าเป็นแก้ว 3 ประการภายในตัวของเล่าจื้อ เล่าจื้อมีอายุยืนยาว อาจจะมีอายุยืนยาวกว่า 160 ปี ก็ได้ปราชญ์บางคนกล่าวว่ามาก กว่า 200 ปี ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าเล่าจื้อปฏิบัติเข้าถึงเต๋า ผู้เข้าถึงเต๋าจะมีอายุยืนหรือไม่ตาย หรือ ถ้าตายร่างกายก็จะไม่เปื่อยเน่า เล่าจื้อได้ใช้ควายคู่ชีพเป็นพาหนะเดินทางหนีออกผืนแผ่นดิน ใหญ่ไปเรื่อย ๆ มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตก เมื่อไปถึงพรมแดนที่ผ่านเข้าออกนายด่านผู้กำกับทาง ผ่านเข้าออกอยู่จำเล่าจื้อได้ จึงได้ขอร้องเล่าจื้อว่าก่อนจะจากไปขอให้ช่วยชี้แจงเรื่องปรัชญาแห่ง ชีวิตที่ได้ผ่านมา บันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง เล่าจื้อยินยอมให้ทำบันทึกคำสอนของ ตนไว้ให้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องหลักเกี่ยวกับสากลโลก ธรรมชาติและชีวิต ให้ชื่อว่า “เต้า-เตก-เกง” (Tao-Teh-Ching) รุ เป็นคำประมาณ 5,500 คำ พวกศิษย์ได้รวบรวมขึ้นเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งภายหลังกลายเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาเต๋า 202 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More