การเกิดและตายในศาสนาฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 96
หน้าที่ 96 / 481

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดการเกิดและตายในศาสนาฮินดู โดยอธิบายถึงการเวียนว่ายตายเกิดและวิถีทางในการบรรลุโมกษะ ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะจะต้องปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการ ได้แก่ กรรมมรรค, ชยานมรรค, ภักติมรรค และราชมรรค ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการพัฒนาจิตใจและการเข้าใจธรรมชาติของวิญญาณ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงพิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาฮินดูที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของชาวฮินดูอีกด้วย.

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดการเกิดตายในศาสนาฮินดู
-โมกษะและความสำคัญ
-กรรมมรรคและการปฏิบัติ
-ชยานมรรคและการสร้างญาณ
-ภักติมรรคและความศรัทธา
-ราชมรรคและการฝึกทางใจ
-พิธีกรรมในศาสนาฮินดู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกิดมีตาย การเกิดตายเป็นเพียงเรื่องร่างกายเท่านั้นเอง วิญญาณจะไปถือเอาร่างใหม่หรือที่ เรียกว่าสังสารวัฏ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปตราบที่ยังไม่บรรลุโมกษะ ชาวฮินดูเชื่อว่า โมกษะ เป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ผู้เข้าถึงโมกษะจะไปอยู่กับพระพรหมชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่าย ตายเกิดอีกต่อไป ส่วนการปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการ คือ 1. กรรมมรรค (กรรมโยคะ) การปฏิบัติด้วยการประกอบการงานตามหน้าที่ด้วย ความขยันขันแข็ง แต่ทำงานด้วยจิตใจสงบ ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ผู้ปฏิบัติเรียก กรรมโยคิน 2. ชยานมรรค (ชยานโยคะ) การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมาว่า ปรมาตมันเป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ วิญญาณส่วนบุคคล (อาตมัน) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ ปรมาตมันหรือวิญญาณสากล การสร้างญาณดังกล่าวให้เกิดขึ้นอาจทำได้โดยการดำเนินตาม มรรค 4 ประการด้วยกัน คือ เรียกว่าวิเวกะ 1) แยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงและสิ่งที่ไม่เป็นความจริงที่ 2) บำเพ็ญเนกขัมมะ คือ สละโลกิยะสุขทั้งมวล ที่เรียกว่า ไวราคุยะ 3) ปลูกฝังคุณธรรม 4 ประการ คือ ควบคุมกายและประสาททั้ง 5 ควบคุมใจ ยับยั้งมิให้ประสาททั้ง 5 ที่ควบคุมได้แล้วกลับตกไปเป็นทาสของอารมณ์ต่าง ๆ อีก อดกลั้น อารมณ์ต่าง ๆ อดกลั้นทนทาน ทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างสมบูรณ์ และมีความจงรักภักดีที่เรียกว่า สลัมปัต 4) ใฝ่ฝันถึงความหลุดพ้น โมกษะ) ที่เรียกว่า มุมุกษุตวะ ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ชยานโยคิน 3. ภักติมรรค (ภักติโยคะ) การปฏิบัติ คือการปลูกศรัทธาและความจงรักภักดีต่อ เทพเจ้าที่ตนเคารพนับถือ ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ภักติโยคิน 4. ราชมรรค (ราชโยคะ) เป็นทางปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทางใจมุ่งบังคับใจให้อยู่ใน อำนาจด้วยการบำเพ็ญโยคะกิริยา ผู้ปฏิบัติเรียกว่า ราชโยคิน 3.8 พิธีกรรมที่สำคัญ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่มีพิธีกรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของ ศาสนา เพราะชาวฮินดูทุกวรรณะย่อมมีขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งส่วนเฉพาะและส่วนรวมที่ ศ า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More