ข้อความต้นฉบับในหน้า
คุรุโควินทสิงห์กล่าวว่า สุเหร่ามณเฑียร วิหารเป็นสถานที่บำเพ็ญธรรมของคนทั้งหลายเหมือนกัน
ที่เห็นแตกต่างกันก็เพราะความแตกต่างแห่งกาละและเทศะเท่านั้น ในศาสนาซิกข์ได้มีบทสวด
(ชัปติ) แสดงถึงการประนีประนอมนำพระเจ้าในศาสนาฮินดูมาเป็นศาสนาของตน เช่น
เมื่ออยู่ในคำแนะนำของคุรุก็ได้ยินเสียงของพระเจ้า เมื่ออยู่ในคำแนะนำของคุรุก็ได้ปัญญา
เมื่ออยู่ในคำแนะนำของคุรุ มนุษย์ก็เรียนรู้ว่าพระเจ้ามีอยู่ในที่ทุกแห่ง คุรุเป็นศิวะ คุรุเป็นวิษณุ
และพระพรหม คุรุเป็นพระนางปาราวตี ลักษมีและสุรัสวดี ข้อนี้ก็เป็นการจูงใจให้ชาวฮินดูเห็น
ว่าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามองค์ของศาสนาฮินดูพร้อมมเหสีก็มีอยู่ในศาสนาซิกข์แล้ว
สรุปแล้วศาสนาซิกข์มีลักษณะประนีประนอมระหว่างศาสนาต่าง ๆ ในอินเดีย โดยเฉพาะ
ศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลาม เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพหรือความเป็นอันเดียวกันทั้งใน
เรื่องพระเจ้า ศาสนาและมนุษยชาติอันจะนำมาซึ่งสันติภาพที่แท้จริงมาสู่โลกนี้ ส่วนความเป็น
ไปของศาสนาซิกข์' โดยย่อมีดังต่อไปนี้
คุรุนานัก (พ.ศ. 2012-2082) ศาสดาองค์ที่ 1 ได้ออกเผยแผ่ศาสนาซิกข์ทั่วทุกภาคของ
อินเดีย ทั้งได้ออกไปเผยแผ่ศาสนาถึงต่างประเทศมี ศรีลังกา อาฟกานิสถาน ซาอุดิอารเบีย
เป็นต้นอีกด้วย เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม พยายามสอนคนให้ผู้ครอง
เรือนที่ดีและตั้งมั่นในศาสนาของตน อีกทั้งได้วางแบบให้ชาวซิกข์ปฏิบัติ ได้แก่สังคัต ให้ชาว
ซิกข์มาประชุมพบปะกันในเวลาเย็นและปังคัดคือให้ชาวซิกข์มารับประทานอาหารร่วมกันโดย
ไม่คำนึงถึงความแตกต่างกัน ต่างฝ่ายต่างช่วยตัวเองและช่วยเหลือกัน เช่นช่วยกันปัดกวาด
ทำความสะอาดสถานที่และล้างถ้วยชาม เป็นต้น ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์กว่ากัน นอกจากนี้ยังได้ตั้ง
เมืองกรตารปุระในแคว้นปัญจาบอีกด้วย
คุรุอังคัทเทพ (พ.ศ. 2047-2095) ศาสดาองค์ที่ 2 ได้ปรับปรุงและส่งเสริมอักขรวิธีคุรุ
มุขี สำหรับใช้ในศาสนา ทั้งได้จัดตั้งโรงครัวทาน แจกจ่ายอาหารแก่คนยากจนตลอดทั้งส่งเสริม
หลักการสังคัตและปังคัต ของคุรุนานักให้มั่นคงอีกด้วย
คุรุอมรทาส (พ.ศ. 2022-2117) ศาสดาองค์ที่ 3 ได้จัดให้มีวัดซิกข์ (คุรุทวาร) ตามหมู่
บ้านซิกข์ ทั้งได้ปฏิรูปสังคม โดยคัดค้านการคลุมหน้าของสตรีและการกระโดดเข้ากองไฟเมื่อ
สามีตายที่เรียกว่าพิธีสติ และสอนว่าสตรีก็มีสิทธิที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้
คุรุรามทาส (พ.ศ. 2077-2124) ศาสดาองค์ที่ 4 ได้จัดให้สร้างเมืองศูนย์กลางของศาสนา
ซิกข์ ขึ้นที่เมืองรามทาสปุระ โดยให้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ขึ้นมาให้ชื่อว่า อมฤตสระ (Immortal
' Noss David's. A History of the World's Religions, 1994 p. 83-85.
ศ า ส น า ชิ ก ข์ DOU 173