ศาสนาซิกข์: ประวัติและความหมาย DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 187
หน้าที่ 187 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาซิกข์เกิดขึ้นในประเทศอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2012 โดยมีคุรุนานักเป็นปฐมศาสดา มีเป้าหมายในการสร้างความสงบสุขจากการต่อสู้ของสองศาสนาใหญ่คือ ศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม ศาสนานี้มีความมุ่งหมายในการประนีประนอมคำสอนของศาสนาต่างๆ โดยมีหลักคำสอนว่าทุกคนมาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน และไม่มีการแบ่งแยกชั้นวรรณะ พระเจ้าหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติและไม่อาจถูกผูกขาดโดยศาสนาใดศาสนาหนึ่ง คำสอนของศาสนาซิกข์จึงเน้นความรัก ความเคารพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบภายใต้พระเจ้าเดียวกัน

หัวข้อประเด็น

-ประวัติความเป็นมาของศาสนาซิกข์
-คำสอนที่สำคัญในศาสนาซิกข์
-การประนีประนอมกับศาสนาต่างๆ
-ความหมายของพระเจ้าในศาสนาซิกข์
-ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาฮินดูและอิสลาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 6 ศาสนาซิกข์ 6.1 ประวัติความเป็นมา ศาสนาซิกข์ หรือสิกข์ เกิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาใหม่ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2012 โดย คิดตามปีที่เกิดของคุรุนานักผู้เป็นปฐมศาสดาของศาสนานี้ คำว่าซิกข์ เป็นภาษาปัญจาปี ตรง กับภาษาบาลีว่า สิกขะ และตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ศิษยะ แปลว่าศิษย์หรือผู้ศึกษาเล่าเรียน เพราะฉะนั้นชาวซิกข์ก็คือผู้เป็นศิษย์ของคุรุหรือศาสดาของศาสนาซิกข์ทุกองค์ ศาสนาซิกข์เกิด ในช่วงที่ศาสนิกของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูกับศาสนิกของศาสนาอิสลามเผชิญหน้ากัน มี ปัญหากระทบกระทั่งจนเกิดการประหัตประหารกันอยู่เสมอ ทำให้นานักผู้มีจิตใจสูงทนไม่ไหว ได้ครุ่นคิดหาทางที่จะนำความสงบสุขคืนมาให้จงได้ จนเป็นเหตุให้เกิดศาสนาซิกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นศาสนาซิกข์จึงเป็นศาสนาที่ประนีประนอมศาสนาต่าง ๆ ในอินเดียโดยเฉพาะ ระหว่างศาสนาฮินดูกับศาสนาอิสลาม ดังนั้นศาสนาซิกข์นอกจากจะมีคำสอนตั้งขึ้นใหม่แล้วก็ ยังได้นำคำสอนดีเด่นจากศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะจากศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามมาเป็น คำสอนของตนด้วย ส่วนอะไรที่ไม่ดีก็ตัดทิ้งไปเช่นเรื่องการถือชั้นวรรณะ ความใจแคบและ ความมีกิเลสของพระเจ้าเป็นต้น โดยให้ถือใหม่ว่าทุกคนเป็นพี่น้องกันไม่แตกต่างกันเพราะมา จากพระเจ้าองค์เดียวกัน ดังคำสอนที่ว่า พระเจ้ามีหลายพระนามเช่น พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ อกาละ ปุรุขะ เอกะ และนิรเภา เป็นต้น พระองค์เป็นพระเจ้าของมนุษยชาติทั้งมวล มิได้ผูกขาดว่าเป็นพระเจ้าของฮินดู พระเจ้าของมุสลิม หรือของศาสนาไหน ทรงประทับอยู่ทุกแห่ง แต่ทรงชอบประทับอยู่ในใจของคน พระเจ้าถึงแม้จะประทับอยู่ในทุกสิ่ง แต่ทุกสิ่งก็ไม่ใช่พระองค์ พระเจ้าไม่ใช่เป็นอย่างเดียวกับทุกสิ่ง พระองค์ทรงเป็นอีกอย่างต่างหาก เหมือนกลิ่นหอมมีอยู่ ในดอกไม้แต่ดอกไม้ก็ไม่ใช่กลิ่นหอม หรือการสะท้อนเงามีอยู่ในกระจกแต่กระจกก็ไม่ใช่การ สะท้อนเงาก็ฉันนั้น ดังนั้นพระเจ้าในทุกศาสนาเป็นพระเจ้าองค์เดียวกัน จึงไม่ควรที่ใครจะ ผูกขาดว่าเป็นพระเจ้าของตนหรือของศาสนาใดศาสนาหนึ่งแต่พระองค์ทรงเป็นเจ้าของทุกศาสนา และของมนุษยชาติทั้งปวง ส่วนการที่เรียกชื่อพระเจ้าแตกต่างกันไป และเรียกศาสนสถาน ที่ประทับของพระเจ้าต่างกัน ก็เป็นเพียงความแตกต่างแห่งกาละและเทศะเท่านั้น ดังที่ 172 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More