ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 62
หน้าที่ 62 / 481

สรุปเนื้อหา

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนพุทธศักราช ถือเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีเจ้าลัทธิทั้งหมด 19 ท่าน สิ่งเคารพสูงสุดในศาสนาคือ ‘ตรีมูรติ’ ประกอบด้วย พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ คัมภีร์แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ศุรติและสมฤติ หลักคำสอนสำคัญได้แก่ หลักอาศรม 4, หลักปรมาตมัน และหลักโมกษะ ซึ่งมีจุดหมายสูงสุดคือความกลมกลืนกับพระพรหม ศาสนานี้มีนิกายใหญ่ ๆ 3 นิกาย คือ ไวษณวะ ไศวะ และศักติ การศึกษาศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจประวัติศาสตร์และพิธีกรรมได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
-หลักคำสอนและคัมภีร์
-นิกายและสัญลักษณ์
-พิธีกรรมและวันสำคัญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเกิดในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนพุทธศักราช เป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก เจ้าลัทธิ หรือผู้แต่งตำรา มีทั้งหมด 19 ท่าน สิ่งเคารพสูงสุด 3 อย่างของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่ มหาเทพ 3 องค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ 2. คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ศุรติ ได้แก่ คัมภีร์พระเวท ทั้ง 4 อันได้แก่ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวท 2) สมฤติเป็นคัมภีร์ขั้นสอง เป็นสิ่งที่ ถ่ายทอดกันสืบมา มีการแต่งตำราประกอบขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนในการศึกษาคัมภีร์พระเวท เรียกว่า คัมภีร์เวทางคศาสตร์ 3. หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการคือ 1) หลักอาศรม 4 2)หลักปรมาตมัน 3) หลักโมกษะถือว่าเป็นหลักความดีสูงสุดในศาสนา และในศาสนาพราหมณ์- ฮินดูมีจุดหมายสูงสุดของชีวิตอันเป็นความสงบสุขชั่วนิรันดรอย่างแท้จริง คือ ความกลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพรหมหรือปรมาตมัน 4. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีสัญลักษณ์คือเครื่องหมายอักษรเทวนาครี เรียกว่า “โอม” ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีนิกายอยู่มากมาย นิกายใหญ่ๆ ที่มีผู้นับถืออยู่เป็นจำนวนมากมีอยู่ 3 นิกาย คือ นิกายไวษณวะ นิกายไศวะ และนิกายศักติ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพรวมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญทางศาสนาของศาสนา พราหมณ์-ฮินดูได้อย่างสมบูรณ์ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของศาสนาประวัติศาสดา คัมภีร์สำคัญในศาสนา หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนา หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุดใน ศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดเกี่ยวกับพิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา นิกายใน ศาสนา สัญลักษณ์ของศาสนา และฐานะปัจจุบันของศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ อย่างถูกต้อง ร า ส น า พ ร า ห ม ณ์ - ฮินดู DOU 47
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More