ข้อความต้นฉบับในหน้า
มรรคเบื้องต่ำ 3 ระดับ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค และอนาคามิมรรค จะถูก
อรหัตตมรรคทำลายให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง ผลที่เกิดต่อเนื่องจากการทำลายกิเลสของ
อรหัตตมรรค เรียกว่า อรหัตตผล ผู้ที่เข้าถึงหรือบรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลที่เรียกว่า
พระอรหันต์นี้ เป็นผู้เข้าถึงนิพพานตามคำสอนของศาสนาพุทธ
2. นิพพาน 2 ประเภท
การเข้าถึงภาวะสูงสุดตามคำสอนของศาสนาพุทธคือ การบรรลุนิพพาน พระอรหันต์
จึงจัดว่าเป็นผู้ที่ได้เข้าถึงภาวะสูงสุดดังกล่าวนี้ แต่มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับ
พระอรหันต์ก็คือ บุคคลที่บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุดที่เรียกว่าพระอรหันต์นี้ ถ้าบรรลุมรรคผลแล้ว
ยังมีชีวิตอยู่ก็เรียกว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน” พระอรหันต์จัดเป็นผู้ที่ดับทุกข์ทางใจได้สิ้นเชิง
เพราะกิเลสอันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ทางใจของท่านได้ถูกอรหัตตมรรคทำลายได้เด็ด
ขาดสิ้นเชิงแล้ว ส่วนความทุกข์ทางกาย เช่น ความเจ็บปวดหรือความเจ็บป่วยทางกายของท่าน
ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เพราะสังขารร่างกายของท่าน ซึ่งเป็นวิบากแห่ง
กิเลสและกรรมในอดีตของท่านยังมีอยู่ยังไม่ได้แตกดับไป ท่านจึงยังคงมีความทุกข์ทางกายเช่น
เดียวกับบุคคลทั่วไปข้อแตกต่างระหว่างพระอรหันต์กับปุถุชนและพระอริยบุคคลชั้นต่ำทั่วไปก็คือ
บุคคลที่ยังมีกิเลสเมื่อเกิดความทุกข์ทางกายก็จะส่งผลให้ท่านเกิดความทุกข์ทางใจด้วย ส่วน
พระอรหันต์นั้น ความทุกข์ทางกายจะไม่ส่งผลให้ท่านเกิดความทุกข์ทางใจด้วย เพราะกิเลสอัน
เป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ทางใจท่านละได้เด็ดขาดสิ้นเชิงดังกล่าวแล้ว เมื่อใดพระอรหันต์สิ้น
ชีวิตหรือตาย เมื่อนั้นเรียกว่าท่านได้บรรลุ “อนุปาทิเสสนิพพาน” ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
“ปรินิพพาน” เมื่อพระอรหันต์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน หรือปรินิพพาน ก็กล่าวได้ว่าท่านดับ
ได้อย่างสิ้นเชิง ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ เพราะหลังจากตายแล้วพระอรหันต์ก็หมดชาติ คือ
ความเกิดท่านจะไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป
เกี่ยวกับ “สอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน” มีพระพุทธภาษิต กล่าวไว้ใน
ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ว่า
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 ประการนี้ 2 ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสส
นิพพานธาตุ 1 อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ 1 ภิกษุทั้งหลายก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว
1 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม 25, 2539 หน้า 222.
ศาสนาพุทธ
DOU 157