ข้อความต้นฉบับในหน้า
คู่ที่สอง
สางขยะ (Sankhya)
ศาสดาผู้ก่อตั้งปรัชญาในระบบนี้ก็คือ กาปีละ ไม่มีหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นว่าท่านผู้นี้
ได้เขียนคัมภีร์ใดไว้ แต่อย่างไรก็ตามคัมภีร์ที่เหลือตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ คัมภีร์
สางขยะการิกา ของท่านอิศวรกฤษณะ แนวคิดทางปรัชญาในระบบนี้มีลักษณะเป็นทวินิยม
(dualism) เพราะเชื่อว่าความเป็นจริงมี 2 อย่าง คือ ประกฤติ และ ปุรุษ
ประกฤติ คือ ต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งหลาย ตัวมันเองมิได้เกิดจากสิ่งใด เป็นสิ่งเกิดเอง
และมีอยู่เอง ส่วนสิ่งทั้งหลายในโลกเรานั้นมีอยู่ในประกฤติก่อนแล้ว และได้ปรากฏออกมาจาก
ประกฤติจึงทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า การเกิดขึ้น ส่วนการดับเป็นภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงกลับ
ไปสู่ประกฤติตามเดิม
ปุรุษ คือวิญญาณบริสุทธิ์ เทียบได้กับชีวาตมันของปรัชญาอินเดียในระบบอื่น ๆ ปุรุษะนี้
เป็นสิ่งเที่ยงแท้และอยู่ได้โดยลำพัง เช่นเดียวกับประกฤติ มีอยู่เป็นจำนวนมากมหาศาลจนนับ
ประมาณมิได้
ปรัชญาสางขยะเชื่อว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ มนุษย์ควรหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์
เข้าสู่โมกษะ การที่มนุษย์บางคนไม่สามารถหลุดพ้นได้ เพราะอวิชชาหรือการไม่รู้แจ้งใน
สัจธรรมเป็นตัวการสำคัญ นั่นคือบุรุษะหรือวิญญาณบริสุทธิ์นั้นโดยปกติแล้วเป็นอิสระโดย
ธรรมชาติ อยู่เหนือกาละเทศะ แต่เมื่อไปเข้าใจผิดคิดว่าร่างกายที่เกิดจากประกฤติเป็นตัวตน
แท้จริง จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา ของเรา เป็นผู้กระทำกรรมและเสวยกรรม นับ
เป็นการหลงผิด อย่างหนึ่งที่จะโน้มนำบุคคลให้กระทำสิ่งต่างๆ ไปตามความคิดเห็นของตนเอง
ก่อให้เกิดการเวียนว่ายในวัฏฏะไม่จบสิ้น ดังนั้นการที่จะหลุดพ้นจากวังวนแห่งวัฏฏะนี้ได้ก็คือ
ปฏิบัติให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง โดยทำให้บุรุษะเห็นความแตกต่างระหว่างตนเองกับประกฤติว่า
ตัวตนที่แท้จริงนั้นคือบุรุษะเท่านั้น ไม่ใช่รูปกายที่เกิดจากประกฤติ
โยคะ (Yoga)
เป็นระบบที่เน้นในด้านวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงโมกษะ ศาสดาผู้ก่อตั้งคือ ปตาญชลี ซึ่ง
ท่านได้รจนาสูตรที่สำคัญคือ โยคะสูตร คำว่า โยคะนี้ ในทัศนะของท่านปตาญชลี หมายถึง
“ความเพียรพยายามที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในความสมบูรณ์ ด้วยการบังคับควบคุมกาย
และควบคุมจิต”
60 DOU ศ า ส น ศึ ก ษ า