ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความจริงทั้งปวง”
ระยะแรกผู้คนต่างชื่นชมต่อการประกาศศาสนาของพระบ๊อบ และเชื่อว่าพระบ๊อบเป็น
อิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่จะมาทำให้ศาสนาอิสลามเจริญรุ่งเรือง แต่พระบ๊อบยิ่งประกาศไป ก็ยิ่งผิดกับ
ศาสนาอิสลามมากขึ้นทุกทีถึงขนาดจะใช้คัมภีร์ใหม่มาแทนคัมภีร์อัลกุรอาน ผลก็คือพระบ็อบ
ถูกจับประหารชีวิต ในข้อหาขบถต่อศาสนาอิสลามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2393 ศพของ
ท่านถูกนำมาฝังไว้บนภูเขาคาร์เมล ในเมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล เมื่อพระบ็อบสิ้นชีวิตแล้ว
พระบาฮาอุลลาห์ก็ได้รับช่วงดำเนินการสืบสานเผยแผ่ศาสนาของพระบอบต่อไป
บาไฮ เป็นชื่อที่ตั้งตามนามพระศาสดาของศาสนานี้ คือ พระบาฮาอุลลาห์ ซึ่งแปลว่า
แสงสว่างของพระเจ้า คำว่า บาไฮ มาจากคำว่า บาฮา แปลว่า แสงสว่าง
ศาสนาบาไฮ เกิดในอิหร่าน ในยุคที่ศาสนิกของศาสนาอิสลาม คริสต์ และโซโรอัสเตอร์
เป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะชาวคริสต์และชาวโซโรอัสเตอร์เป็นฝ่ายที่ถูกทำร้าย
เป็นส่วนใหญ่ เพราะผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นมุสลิม พระบ็อบและพระบาฮาอุลลาห์ทนเห็น
สภาพเลวร้ายนั้นไม่ไหว จึงได้ครุ่นคิดอย่างหนักที่จะหามาตรการมาประนีประนอมให้ศาสนิก
ของทั้ง 3 ศาสนาหันมาสามัคคีปรองดองกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดศาสนาบาบีและบาไฮขึ้นมา
เพื่อสันติสุขคืนมาให้เพื่อนร่วมชาติ นอกจากนี้ยังมีจุดหมายกว้างไกลออกไปจนถึงการขจัด
ความขัดแย้งกันในระหว่างศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย เพื่อโลกจะได้มีความสงบ
สุขอย่างแท้จริง โดยสอนว่า มนุษยชาติเป็นพี่น้องกัน เกิดมาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน จึงควร
ช่วยเหลือกัน ไม่ใช่มาทำร้ายเบียดเบียนกัน
พระบาฮาอุลลาห์ กล่าวว่า “ขอให้ประชาชาติทั้งปวงในโลกจงร่วมปรองดองกันด้วย
มิตรภาพและความชื่นชม ปวงชนจงสามัคคีกับคนทุกศาสนาด้วยมิตรภาพและความยินดี”
พระอับดุลบาฮา ศาสดาองค์ที่ 2 ของศาสนาบาไฮก็ได้กล่าวว่า “บาไฮ หมายถึงผู้ที่มีความรัก
โลก รักเพื่อนมนุษย์ แล้วพยายามรับใช้เพื่อนมนุษย์ ปฏิบัติภารกิจเพื่อสากล สันติสุข และ
ภราดรภาพ” สรุปแล้วศาสนาบาไฮเกิดขึ้นมาเพื่อสมานสามัคคีระหว่างศาสนิกของทุกศาสนา
ในโลก ดังนั้นศาสนาบาไฮจึงมีคำสอนที่เป็นไปเพื่อความเป็นเอกภาพระหว่างพระเจ้า ศาสนา
และมนุษยชาติ ศาสนาบาไฮในช่วงสมัยพระบาฮาอุลลาห์เจริญเติบโตอย่างช้าๆ เพราะมี
อุปสรรคขัดขวาง คือท่านทำการเผยแผ่ศาสนาในขณะที่ถูกคุมขังในเรือนจำ จึงเผยแผ่ได้เพียง
การเขียนหนังสือเท่านั้น อีกทั้งถูกกล่าวหาว่าขบถต่อศาสนาอิสลาม จึงเป็นภาพพจน์ที่มุสลิม
"เอสเซิลมอนท์ เจอ. พระบาฮาอุลลาห์และยุคใหม่, 2526 หน้า 168-169.
2 เล่มเดียวกัน, เอสเซิลมอนท์ เจ อี. หน้า 148.
444 DOU ศาสนศึกษา