ประวัติศาสตร์และความสำคัญของวิหารสุวรรณวิหาร DF 404 ศาสนศึกษา หน้า 189
หน้าที่ 189 / 481

สรุปเนื้อหา

วิหารสุวรรณวิหารที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เป็นผลงานของคุรุอรชุนเทพในปี พ.ศ. 2106 และได้รับการสนับสนุนจากพระราชารัญชิตซิงห์ในปี พ.ศ. 2323 ซึ่งมีลักษณะสวยงามเป็นเอกลักษณ์และเปิดรับผู้เข้ามาทุกคน ไม่มีการแบ่งชนชั้น คุรุอรชุนเทพยังเป็นผู้รวบรวมคำสอนที่สำคัญทั้งจากศาสนาซิกข์และอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ศรัทธา นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งกองทหารเพื่อปกป้องศาสนาโดยคุรุหริโควินท์ และการขยายการช่วยเหลือคนยากไร้โดยคุรุหริชัยเนื้อหานี้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์และการพัฒนาของศาสนาซิกข์

หัวข้อประเด็น

-วิหารสุวรรณวิหาร
-คุรุอรชุนเทพ
-การสร้างสรรค์และการพัฒนาศาสนาซิกข์
-ความสำคัญของกองทหารในศาสนา
-การแบ่งชนชั้นในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

Pond) ทั้งได้ดำริจะสร้างวิหารขึ้นกลางสระน้ำด้วย คุรุอรชุนเทพ (พ.ศ. 2106-2149) ศาสนาองค์ที่ 5 ได้สร้างวิหารขึ้นกลางสระน้ำตาม ความประสงค์ของคุรุรามทาส โดยตั้งชื่อวิหารนี้ว่า หริมณเฑียร ต่อมาพระราชารัญชิตซิงห์ (พ.ศ. 2323-2342) แห่งแคว้นปัญจาบและศาสนิกได้รวบรวมทองคำตีแผ่หุ้มหริมณเฑียร จึงได้ นามวิหารอีกนามหนึ่งว่า สุวรรณวิหาร (Golden Temple) ซึ่งงดงามมาก เป็นศิลปกรรมชั้น เอกของโลกแห่งหนึ่ง สุวรรณวิหารจะมีประตูทางเข้าอยู่ 4 ประตูด้วยกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ศาสนสถานศาสนาซิกข์ยินดีต้อนรับทุกคน ไม่มีชนชั้นวรรณะ นอกจากนี้คุรุอรชุนเทพยังได้ รวบรวมศาสโนวาทของคุรุองค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 4 และของตัวท่านเอง ตลอดทั้งคำสอนของนัก ปราชญ์ในศาสนาอื่นที่สำคัญมี รามนันทะ และกาบีร์ เข้าด้วยกันเป็นคัมภีร์เรียกว่า อาทิครันถ์ ทั้งได้ออกระเบียบให้ซิกข์ทุกคนสละรายได้ 1 ใน 10 (ทศพันธ์) เข้าสมทบทุนกลางเพื่อใช้ใน การกุศล ต่อมาศาสดาองค์นี้ถูกพระเจ้าเยฮานคีร์สั่งให้ประหารชีวิต แต่ก่อนถูกจับมาประหารชีวิต ท่านได้ประกาศให้ศาสนาซิกข์แยกตัวออกจากศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม ประกาศว่าท่าน ไม่ใช่ฮินดูหรือมุสลิม ประกาศไม่ให้ศาสนิกบำเพ็ญพรตอดอาหารอย่างทั้ง 2 ศาสนาไม่ยอม นมัสการร่วมกับฮินดู ไม่จาริกไปยังเมืองเมกกะ ไม่สวดมนต์ต่อหน้ารูปเคารพ และไม่สวดบท สวดของมุสลิม คุรุหริโควินท์ (พ.ศ. 2138-2188) ศาสดาองค์ที่ 6 ผู้เป็นบุตรของคุรุอรชุนเทพ ศาสดา ผู้นี้เป็นองค์แรกที่สะพายดาบ และจัดตั้งกองทหารม้า 2,200 คน เนื่องจากถูกทางบ้านเมือง คุกคาม และแม้จะมีทหารม้าเพียง 2,200 คน แต่ก็สามารถเอาชนะกองทัพฝ่ายพระเจ้าชาหัช ฮันได้ทุกครั้ง และเนื่องจากสถานการณ์บังคับ จึงเป็นศาสดาองค์แรกที่ใช้ดาบสำหรับปกปักษ์ รักษาบ้านเมืองและศาสนา ทั้งได้ใช้กาน้ำและดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจทางโลกและทาง ธรรมรวมกัน สัญลักษณ์นี้ได้ถือมาตลอดในหมู่ชาวซิกข์จนถึงปัจจุบัน คุรุหริชัย (พ.ศ. 2173-2204) ศาสดาองค์ที่ 7 ท่านผู้นี้ได้ส่งเสริมกองทหารม้าทั้งได้ตั้ง โรงพยาบาลตามจุดต่าง ๆ อีกทั้งขยายโรงครัวทานอีกด้วย ศาสดาผู้นี้มีเมตตาจิตสูง ชอบช่วย เหลือคนยากจน และทำให้ภคัทภควัน นักบวชฮินดูเปลี่ยนมานับถือศาสนาฮินดูอีกด้วย คุรุหริกริซัน (พ.ศ. 2199-2207) ศาสดาองค์ที่ 8 ท่านได้รับสถาปนาเป็นศาสดาเมื่อ มีอายุเพียง 5 ปี 6 เดือนเท่านั้น ข้อนี้แสดงว่าอายุน้อยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถน้อยเสมอ ไป โดยเฉพาะเรื่องจิตใจ อย่างเช่นพราหมณ์คนหนึ่งมาลองดีท้าโต้วาทีกัน คุรุหริกริซันให้ พราหมณ์ผู้นั้นไปพาใครมาก็ได้ แล้วท่านจะให้ผู้นั้นเป็นตัวแทนโต้วาทีกับพราหมณ์ พราหมณ์ 174 DOU ศาสนศึกษา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More